logo

ถ้าเราเติมน้ำมัน 100 บาท จะได้น้ำมันจริงอยู่กี่บาท

ทุกวันนี้ราคาน้ำมันพุ่งสูงมากจากหลาย ๆ ปัจจัย ทั้งสงครามระหว่าง รัสเซีย – ยูเครน ซึ่งรัสเซียเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของโลก กับบรรดาชาติตะวันตกซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาในเชิงซัพพลายของตลาด และอีกปัจจัยก็คือ กำลังการผลิตน้ำมันที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยในไตรมาส 4 ของปี 2565 กำลังการผลิตสำรองนี้จะลงลงเหลือเพียง 4% ของกำลังการผลิตทั้งหมด ทำให้เจพี มอร์แกนออกมาเตือนว่า น้ำมันดิบ Brent อาจพุ่งทะลุ 125 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในไม่ช้านี้ นอกจากนี้ก็จะมีปัจจัยอื่น ๆ อย่างสถานการณ์โควิด – 19 และการนำเอาส่วนผสมที่มีราคาแพงกว่าน้ำมันมาใส่แล้วขายตามนโยบายของรัฐโดยการอ้างอิงราคาน้ำมันสำเร็จรูปในต่างประเทศที่มีราคาสูง
เมื่อเจาะลึกถึงโครงสร้างราคาน้ำมัน ก็จะพบว่าโครงสร้างราคาน้ำมันในแต่ละประเทศนั้นมีความแตกต่างกัน ราคาที่เราจ่ายเพื่อเติมน้ำมันสำเร็จรูปไม่ว่าจะเป็น เบนซิน ดีเซล หรือแก๊สโซฮอล์ ไม่ได้คิดจาก “เนื้อน้ำมัน” เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังมีภาษีอีกหลายตัว รวมถึงเงินที่เก็บเข้ากองทุนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องรวมอยู่ด้วย อีกทั้งนโยบายการสนับสนุนเชื้อเพลิงแต่ละประเภทก็มีความแตกต่างกัน
มาลองดูว่า หากคุณเติบน้ำมัน 100 บาท คุณจะต้องเสียเงินค่าอะไรบ้าง แล้วเนื้อน้ำมันจริง ๆ ที่คุณได้ จะอยู่ที่เท่าไร?

เมื่อคุณเติมน้ำมัน 100 บาท เงินของเหล่านี้จะถูกแบ่งออกไปสำหรับภาษีสรรพสามิต 24 บาท

1.ภาษีมหาดไทย 2.4 บาท

2.กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง 0.8 บาท

3.กองทุนเพื่อส่งเสริมอนุรักษ์พลังงาน 0.4 บาท

4.Vat ขายส่ง 6 บาท

5.Vat ขายปลีก 0.6 บาท

6.ค่าการตลาด และ Vat ในค่าการตลาด 10 บาท เท่ากับได้น้ำมันจริง ๆ อยู่ประมาณ 56 บาท เท่านั้นเองแล้วราคาหน้าปั๊มใครเป็นผู้กำหนด

“ราคาน้ำมันหน้าปั๊ม” ที่เราใช้กันอยู่ทุกวัน ผู้กำหนดราคาน้ำมันหน้าปั๊มในประเทศไทยคือ “ผู้ค้าปลีก” หรือ “ปั๊มน้ำมัน” ต่างๆ ซึ่งการกำหนดราคาจะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น
• ค่าใช้จ่ายในการขนส่งน้ำมันไปยังสถานีบริการ (ต้นทุนน้ำมันและการจัดส่ง)
• ค่าใช้จ่ายในการบริหารสถานีบริการน้ำมัน เช่น เงินเดือน ค่าเช่าที่ดินและค่าสาธารณูปโภคต่างๆ
• การแข่งขันกับสถานีบริการอื่นๆ ในย่านเดียวกัน
โดยจะมีการคำนวณราคาน้ำมันอิงราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่ตลาดสิงคโปร์ ซึ่งเป็นตลาดซื้อขายน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในเอเซีย ทั้งนี้ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ก็กำกับดูแลทางด้านราคาน้ำมันในภาพรวมอีกทอดหนึ่งด้วย
ทำไมราคาน้ำมันหลายประเทศ ถูกกว่าไทย
แม้ไทยจะขุดน้ำมันได้เยอะ แต่ก็ต้องนำเข้าเป็นหลัก เพราะการจัดหาพลังงานในประเทศไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ จึงต้องนำเข้าทั้งก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบ โดยที่โรงกลั่นน้ำมันในประเทศไทยถูกออกแบบมาเพื่อกลั่นผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปสำหรับใช้ภายในประเทศเป็นหลัก ทดแทนการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปจากต่างประเทศ โดยการอ้างอิงราคากลางน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดภูมิภาคเอเชียบวกกับค่าขนส่งมายังโรงกลั่นในประเทศ เพื่อเปรียบเทียบราคาน้ำมันสำเร็จรูป ณ โรงกลั่นในประเทศต้องไม่สูงกว่าราคาที่อ้างอิง
แต่ “ราคาน้ำมัน” ในประเทศต่างๆ มีปัจจัยที่แตกต่างกัน เช่น ต้นทุนการซื้อน้ำมันสำเร็จรูป น้ำมันที่กลั่นขึ้นภายในประเทศย่อมมีราคาถูกกว่าน้ำมันนำเข้า

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยที่ทำมีส่วนให้ราคาน้ำมันแต่ละประเทศต่างกัน เช่น
• ภาษีสรรพสามิตและภาษีต่างๆ
• การชดเชยราคาน้ำมันของรัฐ เช่น ในประเทศมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เป็นต้น
• ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศนั้นๆ
เพราะฉะนั้น “ราคาน้ำมัน” ที่ขึ้นลง จึงเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยซึ่งต้องในแต่ละช่วงเวลาอาจต้องมาวิเคราะห์ลงในรายละเอียดว่าอะไรที่มีผลต่อราคาน้ำมันในเวลานั้น ทั้งในภาพรวมของตลาดโลก และในบริบทของแต่ละประเทศด้วย

ราคาน้ำมัน จะจบลงที่เท่าใด ถ้าคำนวณราคาน้ำมันแบบคร่าว ๆ

• ราคาน้ำมัน $100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เท่ากับราคาน้ำมันประมาณ 40 บาท
• ราคาน้ำมัน $150 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เท่ากับราคาน้ำมันประมาณ 60 บาท
• ราคาน้ำมัน $200 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เท่ากับราคาน้ำมันประมาณ 80 บาท
• ราคาน้ำมัน $250 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เท่ากับราคาน้ำมันประมาณ 100 บาท
• ราคาน้ำมัน $300 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เท่ากับราคาน้ำมันประมาณ 120 บาท (1 บาร์เรล เท่ากับ 158.987 ลิตร หรือประมาณ 160 ลิตร)
เรื่องนี้แม้จะไม่มีใครตอบได้ว่าราคาน้ำมันจะจบที่เท่าไร แต่แนวโน้มที่ราคาน้ำมัน จะทะยานสูงขึ้นตอนนี้ก็ยังดูเหมือนจะกำลังดำเนินต่อไป และหากใครกำลังสนใจที่จะเทรดในตลาดน้ำมันช่วงนี้ ก็ถือเป็นโอกาสที่น่าสนใจไม่น้อย…
เทรดน้ำมันที่ GOFX วันนี้ สเปรดต่ำจริงแบบไม่ต้องเทียบ เปิดบัญชีเทรด คลืก GOFX.COM

Facebook
Twitter
Email

ข่าวสารเพิ่มเติม

ราคาทองหลุด 1900 ดอลลาร์ เนื่องจากดัชนีดอลลาร์แข็งค่ากดดันตลาดทองคำ

นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือน ส.ค.ของสหรัฐในวันศุกร์นี้ ซึ่งหากดัชนีดังกล่าวออกมาแข็งแกร่งอาจส่งผลกดดันราคาทองคำ

อ่านเพิ่มเติม