logo

ข่าวเศรษฐกิจรอบโลกประจำวันที่ 18 เมษายน 2567

  • ดัชนีดอลลาร์ ปรับตัวลดลง -0.39 จุด หรือ -0.37% มาอยู่ที่ระดับ 105.93 จุด
  • อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี  ปรับตัวลดลง -0.08 % มาอยู่ที่ระดับ 4.591% ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปี ปรับตัวลดลง -0.05 % มาอยู่ที่ระดับ 4.939% โดยที่ส่วนต่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ 10 ปี น้อยกว่า 2 ปี เท่ากับ-0.35% อยู่ในภาวะ inverted yield curve
  • Loretta Mester, ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ สาขาคลีฟแลนด์ เธอคาดการณ์ว่าแรงกดดันด้านราคาจะคลี่คลายลงมากขึ้นในปีนี้ ซึ่งจะทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สามารถลดต้นทุนการกู้ยืมได้ แต่ก็ต่อเมื่อเฟด “มั่นใจมากพอ” ว่าเงินเฟ้อกำลังมุ่งไปสู่เป้าหมาย 2% อย่างยั่งยืนเท่านั้น
  • นายฟิลิป เจฟเฟอร์สัน รองประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวว่า “จะเป็นการเหมาะสมที่เฟดจะยังคงรักษาจุดยืนนโยบายแบบเข้มงวดในปัจจุบันไว้ต่อไปเป็นเวลานาน” ถ้าหากอัตราเงินเฟ้อไม่ได้ชะลอตัวลงตามความคาดหมาย
  • แมรี ดาลี ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาซานฟรานซิสโกกล่าวว่า ไม่มีความเร่งด่วนที่ต้องรีบลดอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐ เนื่องจากเศรษฐกิจและตลาดแรงงานแข็งแกร่ง และอัตราเงินเฟ้อยังคงสูงเกินเป้าหมาย 2% ของเฟด
  • นักลงทุนเลื่อนคาดการณ์การปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในปีนี้ของเฟดออกไปเป็นเดือนก.ย. จากเดิมที่คาดไว้ในเดือนมิ.ย. หลังจากนายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟดได้ส่งสัญญาณครั้งล่าสุดในเวทีการเสวนาที่กรุงวอชิงตันเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (16 เม.ย.) ว่า เฟดอาจจะใช้เวลานานกว่าที่คาดการณ์ไว้ในการเริ่มพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ย หลังจากตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐออกมาสูงกว่าการคาดการณ์
  • FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนักมากถึง 84.8% ที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 5.25-5.50% ในการประชุมเดือนมิ.ย. หลังจากที่ให้น้ำหนักเพียง 41.2% เมื่อ 1 เดือนก่อนหน้านี้
  • สมาชิกสภาบริหารธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) และผู้ว่าการธนาคารกลางฝรั่งเศสกล่าวว่า อีซีบีจะอยู่ในตำแหน่งที่จะปรับเปลี่ยนอัตราการลดดอกเบี้ย ถ้าหากผลกระทบจากสถานการณ์ตึงเครียดในตะวันออกกลางมีผลกระทบในระยะยาวต่อราคาพลังงาน และเงินเฟ้อ
  • นักเศรษฐศาสตร์ของบริษัท PwC UK กล่าวว่า “อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของอังกฤษขยับไปอีกหนึ่งก้าวเล็กๆ ในการก้าวไปสู่เป้าหมาย” และเขากล่าวเสริมว่า ถ้าหากอัตราเงินเฟ้อยังคงชะลอตัวลงต่อไป บีโออีก็จะได้รับแรงกดดันมากยิ่งขึ้นให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 
  • ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบในวันพุธ เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับทิศทางอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และผลประกอบการที่น่าผิดหวังของบริษัทจดทะเบียน
  • ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 37,753.31 จุด ลดลง 45.66 จุด หรือ -0.12%
  • ดัชนี S&P500 ปิดที่ 5,022.21 จุด ลดลง 29.20 จุด หรือ -0.58% และ
  • ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 15,683.37 จุด ลดลง 181.88 จุด หรือ -1.15%
  • กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ระบุว่า เศรษฐกิจโลกจะมีการขยายตัวช้าแต่ต่อเนื่องอีกหนึ่งปี โดยเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐจะผลักดันเศรษฐกิจโลกให้ฝ่าฟันอุปสรรคจากอัตราเงินเฟ้อสูงที่ยังคงอยู่, อุปสงค์ที่ย่ำแย่ของจีนและยุโรป และผลกระทบจากสงครามระดับภูมิภาคใน 2 ภูมิภาค โดยไอเอ็มเอฟคาดว่า จีดีพีแท้จริงของโลกจะขยายตัว 3.2% สำหรับปี 2024 และ 2025
  • แบงก์ ออฟ อเมริกาเปิดเผยผลสำรวจผู้จัดการกองทุนประจำเดือนเม.ย.พบว่า นักลงทุนได้เพิ่มสัดส่วนการถือครองหุ้นและสินค้าโภคภัณฑ์ และเทขายตราสารหนี้ และนับเป็นมุมมองเชิงบวกมากที่สุดนับตั้งแต่ผลสำรวจตั้งแต่เดือนม.ค.2022
  • จีนเปิดเผยว่า เศรษฐกิจขยายตัว 5.3% เมื่อเทียบรายปีในไตรมาสเดือนม.ค.-มี.ค. ซึ่งสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 4.6% และเพิ่มขึ้นจาก 5.2% ในไตรมาส 4 ปีที่แล้ว
  • กระทรวงการคลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่า การส่งออกของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 7.3% ในเดือนมี.ค.เมื่อเทียบเป็นรายปี ชะลอลงเล็กน้อยหลังจากเพิ่มขึ้น 7.8% ในเดือนก.พ. แต่สูงกว่าที่บรรดานักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ว่าอาจเพิ่มขึ้น 7%
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันพุธ เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจชะลอเวลาในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้
  • ราคาทองคำตลาดโลก ปรับตัวลดลง -22.1 เหรียญ หรือ -0.93% อยู่ที่ระดับ 2,361.0 เหรียญ
  • สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือนมิ.ย. ลดลง 19.40 เหรียญ หรือ 0.81% ปิดที่ 2,388.40 เหรียญ
  • สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนพ.ค. เพิ่มขึ้น 2.40 เซนต์ หรือ 0.08% ปิดที่ 28.40 เหรียญ
  • สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนก.ค. ลดลง 21 เหรียญ หรือ 2.15% ปิดที่ 954.20 เหรียญ
  • กองทุนทองคำ SPDR วันก่อนหน้าขายออก 2.59 ตัน ปัจจุบันถือครองที่ 827.59 ตันภาพรวมเดือนเมษายน ขายสุทธิ 2.56 ตัน ขณะที่ปีนี้ ตั้งแต่ 1 ม.ค. – ปัจจุบัน ขายสุทธิ 51.52 ตัน
  • นักวิเคราะห์จากบริษัท Blue Line Futures กล่าวว่า ราคาทองคำยังคงเคลื่อนไหวใกล้ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากสถานการณ์ตึงเครียดด้านภูมิรัฐศาสตร์ยังคงเป็นปัจจัยหนุนตลาด และคาดว่าหากสถานการณ์มีความตึงเครียดมากขึ้น ก็อาจจะทำให้ราคาทองพุ่งขึ้นแตะระดับ 2,500 ดอลลาร์
  • สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงกว่า 3% ในวันพุธ โดยตลาดถูกกดดันจากรายงานสต็อกน้ำมันดิบที่สูงเกินคาดของสหรัฐ และข้อมูลเศรษฐิจที่อ่อนแอของจีน นอกจากนี้ ราคาน้ำมันยังปรับตัวลงหลังจากมีรายงานว่า สหรัฐมีความคืบหน้าในการผลักดันร่างกฎหมายช่วยเหลือยูเครนและอิสราเอล
  • สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนพ.ค. ลดลง 2.67 ดอลลาร์ หรือ 3.13% ปิดที่ 82.69 ดอลลาร์/บาร์เรล
  • สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนมิ.ย. ลดลง 2.73 ดอลลาร์ หรือ 3.03% ปิดที่ 87.29 ดอลลาร์/บาร์เรล
  • ราคาน้ำมันยังได้รับปัจจัยลบจากข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของจีนซึ่งเป็นประเทศที่นำเข้าน้ำมันรายใหญ่ของโลก โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) รายงานว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนมี.ค.ของจีนเพิ่มขึ้นเพียง 4.5% ซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 6% ขณะที่ยอดค้าปลีกเดือนมี.ค.ปรับตัวขึ้น 3.1% ซึ่งน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 4.6%
  • นอกจากนี้ ราคาน้ำมันยังปรับตัวลงหลังจากนายไมค์ จอห์นสัน ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐกล่าวว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะยื่นร่างกฎหมาย 4 ฉบับเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือยูเครน อิสราเอล และภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกในวันนี้ โดยมีเป้าหมายที่จะรับมือกับรัสเซีย อิหร่าน และจีน
Facebook
Twitter
Email

ข่าวสารเพิ่มเติม

ราคาทองคำปรับตัวเพิ่มขึ้นเหนือระดับ 1900 ดอลลาร์ หลังดอลลาร์และพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐปรับตัวลดลง

นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนี CPI ประจำเดือน ก.พ.ในวันนี้ โดยนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ดัชนี CPI ทั่วไปซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงาน จะปรับตัวขึ้น 6.0% ในเดือน ก.พ. เมื่อเทียบรายปี ซึ่งชะลอตัวลงจากเดือนก่อน

อ่านเพิ่มเติม

วิเคราะห์ทองคำประจำวันที่ 05/02/2024

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลดลงในวันศุกร์ โดยถูกกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขจ้างงานพุ่งขึ้นเกินคาด ซึ่งจะเป็นปัจจัยทำให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ตรึงอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงยาวนานกว่าที่คาดไว้

อ่านเพิ่มเติม