logo

ข่าวเศรษฐกิจรอบโลกประจำวันที่ 4 มิถุนายน 2567

  • ดัชนีดอลลาร์ ปรับตัวลดลง -0.57 จุด หรือ -0.54% มาอยู่ที่ระดับ 104.05 จุด
  • อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี  ปรับตัวลดลง -0.11 % มาอยู่ที่ระดับ 4.392% ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปี ปรับตัวลดลง -0.07 % มาอยู่ที่ระดับ 4.808% โดยที่ส่วนต่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ 10 ปี น้อยกว่า 2 ปี เท่ากับ-0.42% อยู่ในภาวะ inverted yield curve
  • FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 59% ที่เฟดจะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนก.ย. ซึ่งเพิ่มขึ้นจากระดับ 53% ก่อนที่สหรัฐจะเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว
  • ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบในวันจันทร์ ท่ามกลางการซื้อขายที่ผันผวน หลังจากตลาดเผชิญเหตุขัดข้องทางเทคนิคซึ่งส่งผลให้ต้องระงับการซื้อขายหุ้นจำนวนมากในช่วงเวลาสั้น ๆ ขณะเดียวกันนักลงทุนประเมินรายงานดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐที่ชะลอตัวลงในเดือนพ.ค.และรอดูข้อมูลเศรษฐกิจเพิ่มเติมในสัปดาห์นี้ เพื่อประเมินช่วงเวลาที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในปีนี้
  • ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 38,571.03 จุด ลดลง 115.29 จุด หรือ -0.30%
  • ดัชนี S&P500 ปิดที่ 5,283.40 จุด เพิ่มขึ้น 5.89 จุด หรือ +0.11% 
  • ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 16,828.67 จุด เพิ่มขึ้น 93.65 จุด หรือ +0.56%
  • สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐปรับตัวลงสู่ระดับ 48.7 ในเดือนพ.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือน จากระดับ 49.2 ในเดือนเม.ย. และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะอยู่ที่ 49.6 โดยดัชนีปรับตัวต่ำกว่าระดับ 50 ซึ่งบ่งชี้ว่าภาคการผลิตของสหรัฐอยู่ในภาวะหดตัว
  • บริษัทสโกป เรทติงส์ ซึ่งเป็นบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่มีสำนักงานใหญ่ในเยอรมนีระบุว่า หนี้สินของรัฐบาลสหรัฐที่พุ่งสูงขึ้น และการที่ทั่วโลกปรับลดการใช้ดอลลาร์สหรัฐ ถือเป็นความเสี่ยงต่ออันดับความน่าเชื่อถือของรัฐบาลสหรัฐ ทั้งนี้ สโกปจัดอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐไว้ที่ AA ในปัจจุบัน โดยมี “แนวโน้มเชิงลบ”
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันจันทร์ โดยได้แรงหนุนจากการที่นักลงทุนมองว่าดัชนีภาคการผลิตที่อ่อนแอเกินคาดของสหรัฐจะทำให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ นอกจากนี้ ข้อมูลดังกล่าวยังส่งผลให้สกุลเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงและฉุดอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐชะลอตัวลงด้วย
  • ราคาทองคำตลาดโลก ปรับตัวขึ้น 23.67 เหรียญ หรือ 1.02% อยู่ที่ระดับ 2,350.64 เหรียญ
  • ทั้งนี้ สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือนส.ค. เพิ่มขึ้น 23.50 เหรียญ หรือ 1% ปิดที่ 2,369.30 เหรียญ
  • สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ค. เพิ่มขึ้น 34.4 เซนต์ หรือ 1.13% ปิดที่ 30.784 เหรียญ
  • สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนก.ค. ลดลง 19.20 เหรียญ 1.84% ปิดที่ 1,022.80 เหรียญ
  • สัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนก.ย. เพิ่มขึ้น 13.80 เหรียญ หรือ 1.51% ปิดที่ 926.70 เหรียญ
  • กองทุนทองคำ SPDR วันก่อนหน้าไม่เปลี่ยนแปลง ปัจจุบันถือครองที่ 832.21 ตันภาพรวมเดือนมิถุนายน ไม่เปลี่ยนแปลง ขณะที่ปีนี้ ตั้งแต่ 1 ม.ค. – ปัจจุบัน ขายสุทธิ 46.9 ตัน
  • สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันจันทร์ เนื่องจากนักลงทุนกังวลว่า มติของที่ประชุมกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และชาติพันธมิตร หรือโอเปกพลัส อาจจะนำไปสู่การเพิ่มอุปทานน้ำมันในวันข้างหน้า
  • สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.ค. ลดลง 2.77 ดอลลาร์ หรือ 3.6% ปิดที่ 74.22 ดอลลาร์/บาร์เรล
  • สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนก.ค. ลดลง 2.75 ดอลลาร์ หรือ 3.39% ปิดที่ 78.36 ดอลลาร์/บาร์เรล
  • ที่ประชุมโอเปกพลัสมีมติเห็นพ้องให้ขยายระยะเวลาการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันส่วนใหญ่ออกไปจนถึงปี 2568 แต่ก็เปิดช่องให้สมาชิก 8 ชาติสามารถเลือกแนวทางการปรับลดกำลังการผลิตแบบสมัครใจอย่างค่อยเป็นค่อยไปตั้งแต่เดือนต.ค.นี้เป็นต้นไป
  • นักวิเคราะห์จากโกลด์แมน แซงค์กล่าวว่า ผลการประชุมของโอเปกพลัสในครั้งนี้ส่งผลกระทบในด้านลบต่อราคาน้ำมัน เนื่องจากการปรับลดกำลังการผลิตโดยสมัครใจนั้นแสดงให้เห็นว่า สมาชิกหลายรายของโอเปกพลัสมีความต้องการที่จะนำการผลิตกลับสู่ภาวะปกติ แม้ว่าสต็อกน้ำมันในตลาดโลกเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงที่ผ่านมาก็ตาม
Facebook
Twitter
Email

ข่าวสารเพิ่มเติม

วิเคราะห์ทองคำประจำวันที่ 18/01/2023

วันนี้มีตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐได้แก่ ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) และ ยอดค้าปลีก คาดการณ์ว่าปรับตัวลดลงกว่าครั้งก่อนทั้งคู่ หากเป็นไปตามที่คาดจะส่งผลดีต่อราคาทองคำ

อ่านเพิ่มเติม