Table of Contents
Toggleประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับ XAUUSD (ทองคำ)
- เมื่อวานนี้ราคาทองปิดลบ 7 ดอลลาร์ หลังสหรัฐมีแพลนที่จะปรับเพิ่มเพดานหนี้ในอาทิตย์นี้
- วันนี้มีตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญสหรัฐได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ คาดการณ์ว่าออกมาน้อยกว่าเดิม หากเป็นไปตามที่คาดจะส่งผลเสียต่อราคาทองคำ
- วันนี้มีตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญสหรัฐได้แก่ ดัชนีภาคผลิต เดือนพ.ค. จากเฟดฟิลาเดลเฟีย คาดการณ์ว่าออกมามากกว่าเดิม หากเป็นไปตามที่คาดจะส่งผลเสียต่อราคาทองคำ
- วันนี้มีตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญสหรัฐได้แก่ ยอดขายบ้านมือสอง เดือนเม.ย. คาดการณ์ว่าออกมาน้อยกว่าเดิม หากเป็นไปตามที่คาดจะส่งผลดีต่อราคาทองคำ
- กองทุนทองคํา SPDR ล่าสุดซื้อเข้า 2.03 ตัน ปัจจุบันถือครองที่ 936.96 ตัน
ปัจจัยที่ทำให้ราคาทองคำอยู่ในช่วง Sideways Down
- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 7 สัปดาห์ในวันพุธ เนื่องจากการแข็งค่าของดอลลาร์เป็นปัจจัยกดดันตลาด นอกจากนี้ นักลงทุนได้ลดการถือครองทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย หลังมีรายงานว่าการเจรจาปรับเพิ่มเพดานหนี้ของสหรัฐมีความคืบหน้า
- นายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานเฟดส่งสัญญาณว่า เฟดอาจจะหยุดพักการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก ขณะที่เฟดจะประเมินกระทบจากการขึ้นดอกเบี้ยที่ผ่านมา รวมทั้งผลกระทบต่อการให้สินเชื่อและสินเชื่อจากภาวะวิกฤตินภาคธนาคารที่เพิ่งเกิดขึ้น
- ลอรี โลแกน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาดัลลัสกล่าวว่า การปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยใน “ขั้นตอนที่้น้อยลง และไม่ถี่” สามารถทำให้เป็นไปได้น้อยลงที่นโยบายการเงินของเฟดจะทำให้เกิดภาวะไร้เสถียรภาพทางการเงิน “การปรับเปลี่ยนนโยบายทีละน้อยสามารถเป็นประโยชน์ได้”
- ราคาทองคำเมื่อวานนี้เปิดที่ 1988 ดอลลาร์ โดยที่ราคาทองลงไประดับต่ำสุดที่ราคา 1974 ดอลลาร์ ก่อนราคาจะขยับขึ้นมาปิดที่ราคา 1981 ดอลลาร์
มุมมองทองคำทาง Technical
เมื่อวานนี้ราคาทองคำปิดลบ 9 ดอลลาร์ หลังสหรัฐมีแพลนที่จะปรับเพิ่มเพดานหนี้ในอาทิตย์นี้ (-) ทั้งนี้ลอเรตตา เมสเตอร์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาคลีฟแลนด์กล่าวว่า เธอไม่คิดว่าเฟดจะอยู่ในจุดที่เฟดจะสามารถคงอัตราดอกเบี้ยเป็นระยะเวลาหนึ่งได้ เมื่อดูจากว่าเงินเฟ้อจะคงอยู่นานแค่ไหน (-) ขณะที่ภาพรวมทองคำตอนนี้มองไปทิศทาง Sideways Down โดยวันนี้คาดว่าราคาทองคําจะวิ่งอยู่ในกรอบแนวรับที่ 1,970 ดอลลาร์ และ 1,960 ดอลลาร์ โดยมีแนวต้านที่ 1,995 ดอลลาร์ และ 2,005 ดอลลาร์
Technical View
แนวรับที่ 1 1970 แนวต้านที่ 1 1995
แนวรับที่ 2 1960 แนวต้านที่ 2 2005
หมายเหตุ : ข้อมูลข้างต้นอาจมีความคลาดเคลื่อน ผู้ลงทุนไม่ควรใช้เป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจออกคำสั่งซื้อขาย และควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน