logo

ข่าวเศรษฐกิจรอบโลกประจำวันที่ 14 มิถุนายน 2567

  • ดัชนีดอลลาร์ ปรับตัวขึ้น 0.54 จุด หรือ 0.52% มาอยู่ที่ระดับ 105.23 จุด
  • อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี  ปรับตัวลดลง -0.07 % มาอยู่ที่ระดับ 4.246% ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปี ปรับตัวลดลง -0.05 % มาอยู่ที่ระดับ 4.699% โดยที่ส่วนต่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ 10 ปี น้อยกว่า 2 ปี เท่ากับ-0.45% อยู่ในภาวะ inverted yield curve
  • ยูบีเอส โกลบอล รีเสิร์ชระบุว่า คาดว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเริ่มลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนธ.ค. เทียบกับที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะเริ่มลดดอกเบี้ยในเดือนก.ย.
  • ประธานสมาคมนักการธนาคารญี่ปุ่น กล่าวว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) จะใช้ความระมัดระวังในการขึ้นอัตราดอกเบี้ย ก่อนที่บีโอเจจะประกาศมติการประชุมนโยบายการเงินในวันนี้
  • ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบในวันพฤหัสบดี แต่ดัชนี S&P500 และ Nasdaq ปิดทำนิวไฮติดต่อกันเป็นวันที่ 4 โดยได้แรงหนุนจากหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีที่พุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  • ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 38,647.10 จุด ลดลง 65.11 จุด หรือ -0.17%
  • ดัชนี S&P500 ปิดที่ 5,433.74 จุด เพิ่มขึ้น 12.71 จุด หรือ +0.23% 
  • ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 17,667.56 จุด เพิ่มขึ้น 59.12 จุด หรือ +0.34%
  • สหรัฐเปิดเผยดัชนี PPI ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้ผลิต เพิ่มขึ้น 2.2% ในเดือนพ.ค. เมื่อเทียบรายปี ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 2.5% หลังจากที่เพิ่มขึ้น 2.3% ในเดือนเม.ย. ส่วนดัชนี PPI พื้นฐานซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้น 2.3% ในเดือนพ.ค. เมื่อเทียบรายปี ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 2.4% หลังจากที่เพิ่มขึ้น 2.5% ในเดือนเม.ย.
  • หัวหน้านักกลยุทธ์การตลาดจากบริษัท Carson Group แสดงความเห็นว่า “แม้เฟดส่งสัญญาณในการประชุมครั้งล่าสุดว่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพียงครั้งเดียวในปีนี้ แต่เฟดก็ต้องพึ่งพาข้อมูลเศรษฐกิจและเงินเฟ้อในการตัดสินใจเรื่องอัตราดอกเบี้ยเช่นกัน เราคาดว่าตัวเลขเงินเฟ้อที่ชะลอตัวลงอาจทำให้มุมมองของเฟดเปลี่ยนแปลงในไม่ช้านี้”
  • เครื่องมือ FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่านักลงทุนเพิ่มน้ำหนักต่อคาดการณ์ที่ว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 2 ครั้งในปีนี้ โดยปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในเดือนก.ย. และปรับลดอีกครั้งในเดือนธ.ค. หลังสหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) และดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ที่ต่ำกว่าคาดในเดือนพ.ค.
  • อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีร่วงลงสู่ระดับต่ำกว่า 4.3% หลังสหรัฐเปิดเผยดัชนี PPI ที่ต่ำกว่าคาด
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงในวันพฤหัสบดี โดยตลาดถูกกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ และจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณว่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพียง 1 ครั้งในปีนี้
  • ราคาทองคำตลาดโลก ปรับตัวลดลง -20.94 เหรียญ หรือ -0.9% อยู่ที่ระดับ 2,303.71 เหรียญ
  • สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนส.ค. ลดลง 36.80 ดอลลาร์ หรือ 1.56% ปิดที่ 2,318.00 ดอลลาร์/ออนซ์
  • สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ค. ลดลง 1.201 ดอลลาร์ หรือ 3.97% ปิดที่ 29.066 ดอลลาร์/ออนซ์
  • สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนก.ค. ลดลง 16.40 ดอลลาร์ หรือ 1.69% ปิดที่ 954.60 ดอลลาร์/ออนซ์
  • กองทุนทองคำ SPDR วันก่อนหน้าขายออก 1.43 ตัน ปัจจุบันถือครองที่ 829.34 ตันภาพรวมเดือนมิถุนายน ขายสุทธิ 2.87 ตัน ขณะที่ปีนี้ ตั้งแต่ 1 ม.ค. – ปัจจุบัน ขายสุทธิ 49.77 ตัน
  • สภาทองคำโลก เปิดเผยรายงานสถานการณ์ทองคำโลกล่าสุด พบว่า นอกจากปริมาณความต้องการทองคำทั่วโลกจะเพิ่มสูงขึ้นแล้ว การที่ประเทศในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ (Emerging Markets) ในภูมิภาคเอเชียมีความต้องการทองคำที่พุ่งสูงขึ้นอย่างมาก กำลังดันให้สิงคโปร์มีแนวโน้มที่จะกลายเป็น Hub หรือศูนย์กลางตลาดทองคำโลกแห่งใหม่ ท่ามกลางแนวโน้มความต้องการทองคำที่เคลื่อนตัวมายังซีกโลกตะวันออกมากขึ้น
  • สภาทองคำโลกสรุปว่า สิงคโปร์มีความพร้อมที่จะเป็นผู้นำตลาดทองคำในอนาคต โดยมีปัจจัยเสริมอย่างความมุ่งมั่นของประเทศต่อเสถียรภาพทางการเมือง และการยกเลิกภาษีการขายทองคำเพื่อการลงทุน ทำให้สิงคโปร์มีแนวโน้มที่จะมีบทบาทสำคัญต่อตลาดทองคำ
  • สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันพฤหัสบดี โดยได้แรงหนุนจากการที่กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) คาดการณ์ว่าอุปสงค์น้ำมันจะปรับตัวเพิ่มขึ้น รวมทั้งความหวังที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยหลังมีข้อมูลที่บ่งชี้ถึงการชะลอตัวของตลาดแรงงานและเงินเฟ้อของสหรัฐ
  • สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.ค. เพิ่มขึ้น 12 เซนต์ หรือ 0.2% ปิดที่ 78.62 ดอลลาร์/บาร์เรล
  • ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนส.ค. เพิ่มขึ้น 15 เซนต์ หรือ 0.2% ปิดที่ 82.75 ดอลลาร์/บาร์เรล
  • ราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นหลังจากนายไฮธาม อัล-กาอิส เลขาธิการโอเปกกล่าวว่า โอเปกคาดว่าอุปสงค์น้ำมันจะพุ่งขึ้นแตะระดับ 116 ล้านบาร์เรล/วันภายในปี 2588 พร้อมกับตำหนิรายงานของสำนักงานพลังงานสากล (IEA) ที่คาดการณ์ว่า อุปสงค์น้ำมันจะถึงจุดสูงสุดภายในปี 2572
  • ราคาน้ำมันยังได้แรงหนุนจากการที่นักลงทุนมีความหวังว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์เพิ่มขึ้น และดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ที่ต่ำกว่าคาดในเดือนพ.ค.
Facebook
Twitter
Email

ข่าวสารเพิ่มเติม

วิเคราะห์ทองคำประจำวันที่ 04/09/2023

FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 93.0% ที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 5.25-5.50% ในการประชุมวันที่ 19-20 ก.ย. และให้น้ำหนักเพียง 7.0% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 5.50-5.75%

อ่านเพิ่มเติม