logo

ข่าวเศรษฐกิจรอบโลกประจำวันที่ 22 มกราคม 2567

  • เฟดสาขานิวยอร์ค เผยชาวสหรัฐที่มีรายได้ต่ำเริ่มเผชิญกับสัญญาณบ่งชี้ถึงภาวะปั่นป่วนวุ่นวายทางการเงิน หลังจากรัฐบาลสหรัฐยุติโครงการช่วยเหลือต่าง ๆ
  • นายออสเตน กูลส์บี ประธานเฟดสาขาชิคาโกกล่าวในวันศุกร์ว่า เฟดจำเป็นต้องพิจารณาข้อมูลเงินเฟ้อมากขึ้นก่อนพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ย ขณะที่นายราฟาเอล บอสติก ประธานเฟดสาขาแอตแลนตากล่าวเมื่อวันพฤหัสบดีว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยจะเริ่มขึ้นในไตรมาส 3/2567
  • สำนักข่าวรอยเตอร์ระบุว่า เทรดเดอร์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะยังไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยจนกว่าจะถึงการประชุมเดือนพ.ค. หลังสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งเกินคาด และเจ้าหน้าที่เฟดได้ออกมาแสดงความเห็นในเชิงสนับสนุนให้เฟดตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงจนกว่าจะมั่นใจว่าเงินเฟ้อสหรัฐกลับสู่เป้าหมาย
  • สมาชิกคณะกรรมการควบคุมนโยบายของ ECB กล่าวว่า ECB อาจไม่มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยตลอดทั้งปี 2567 โดยระบุว่า หาก ECB ยังไม่เห็นว่าเงินเฟ้อกำลังลดลงสู่ระดับ 2% อย่างชัดเจน ECB ก็ยังไม่สามารถประกาศได้ว่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยได้เมื่อใด
  • เจ.พี.มอร์แกน คาดว่าธนาคารกลางอังกฤษ (บีโออี) จะเริ่มต้นปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในเดือนส.ค.ปีนี้ โดยเลื่อนให้เร็วขึ้นจากเดิมที่เคยคาดไว้ว่าบีโออีจะเริ่มต้นปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนพ.ย.โดยเจ.พี. มอร์แกนให้เหตุผลว่า เป็นเพราะอัตราเงินเฟ้ออังกฤษมีแนวโน้มชะลอตัวลง 
  • นายชุนอิจิ ซูซูกิ รัฐมนตรีคลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่า รัฐบาลญี่ปุ่นกำลังจับตาความเคลื่อนไหวในตลาดปริวรรตเงินตราต่างประเทศ (FX) อย่างใกล้ชิด เนื่องจากเสถียรภาพเป็นสิ่งสำคัญ หลังจากค่าเงินเยนร่วงลงอย่างรุนแรงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ
  • นักลงทุนในตลาดการเงินทั่วโลกจับตาการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐ 2 รายการในสัปดาห์นี้ เพื่อหาสัญญาณที่ชัดเจนเกี่ยวกับทิศทางอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) โดยในวันพฤหัสบดีที่ 25 ม.ค.นี้ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐจะเปิดเผยตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ประจำไตรมาส 4/2566 ซึ่งจะเป็นตัวเลขประมาณการครั้งที่ 1 และจากนั้นในวันศุกร์ที่ 26 ม.ค. กระทรวงพาณิชย์สหรัฐจะเปิดเผยดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ประจำเดือนธ.ค.
  • รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยในวันนี้ ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (core CPI) ซึ่งไม่นับรวมราคาอาหารสดและเป็นข้อมูลเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ให้ความสำคัญ เพิ่มขึ้น 2.3% ในเดือนธ.ค. เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งชะลอตัวลงจากระดับ 2.5% ในเดือนพ.ย. โดยดัชนี CPI พื้นฐานเดือนธ.ค.ถือเป็นการขยายตัวในอัตราต่ำสุดในรอบเกือบ 2 ปีหรือนับตั้งแต่เดือนมิ.ย. 2565 อย่างไรก็ดี ข้อมูลดังกล่าวบ่งชี้ว่า เงินเฟ้อของญี่ปุ่นอยู่ในระดับสูงกว่าเป้าหมายของ BOJ ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 21
  • เมื่อไม่นานมานี้ BlackRock บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านการลงทุน ได้ออกมายืนยันว่าจะไม่มีการขอยื่น Ripple XRP ETF แน่นอน ซึ่งสาเหตุหลัก ๆ มาจากกฎระเบียบในการดูแล XRP ยังคงมีความคลุมเครืออยู่
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันศุกร์ เนื่องจากได้ปัจจัยบวกจากการอ่อนค่าของดอลลาร์ ซึ่งจะเพิ่มความน่าดึงดูดของทอง โดยทำให้สัญญาทองคำมีราคาถูกลงสำหรับผู้ถือครองเงินสกุลอื่น ๆ
  • ราคาทองคำตลาดโลก ปรับตัวขึ้น 6.6 เหรียญ หรือ 0.33% อยู่ที่ระดับ 2,029.62 เหรียญ
  • สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือนก.พ. เพิ่มขึ้น 7.70 เหรียญ หรือ 0.38% ปิดที่ 2,029.30 เหรียญ แต่ลดลงราว 1.06% ในรอบสัปดาห์นี้
  • สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค. ลดลง 9.60 เซนต์ หรือ 0.42% ปิดที่ 22.711 เหรียญ
  • สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย. ลดลง 5 เหรียญ หรือ 0.55% ปิดที่ 907.00 เหรียญ
  • กองทุนทองคำ SPDR วันก่อนหน้าขายออก 1.15 ตัน ปัจจุบันถือครองที่ 860.95 ตันภาพรวมเดือนมกราคม ขายสุทธิ 18.16 ตัน ขณะที่ปีนี้ ตั้งแต่ 1 ม.ค. – ปัจจุบัน ขายสุทธิ 18.16 ตัน
  • สัญญาทองคำได้แรงหนุนจากการที่ดอลลาร์อ่อนค่าลง หลังบวกขึ้น 5 วันทำการติดต่อกันโดยได้แรงหนุนจากการที่ตลาดลดคาดการณ์เกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)
  • สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลดลงในวันศุกร์ ขณะที่บรรดาเทรดเดอร์ประเมินปัจจัยลบต่าง ๆ อาทิ ปริมาณน้ำมันที่เพิ่มขึ้นและแนวโน้มอุปสงค์ที่อ่อนแอ ซึ่งได้บดบังปัจจัยบวกจากปัญหาด้านการผลิตที่เกี่ยวกับสภาพอากาศในสหรัฐ และความตึงเครียดอย่างต่อเนื่องในตะวันออกกลาง
  • สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.พ. ลดลง 67 เซนต์ หรือ 0.9% ปิดที่ 73.41 ดอลลาร์/บาร์เรล แต่ปรับตัวขึ้นมากกว่า 1% ในรอบสัปดาห์นี้
  • สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนมี.ค. ลดลง 54 เซนต์ หรือ 0.68% ปิดที่ 78.56 ดอลลาร์/บาร์เรล แต่ปรับตัวขึ้น 0.5% ในรอบสัปดาห์นี้
  • สัญญาน้ำมันดิบปรับตัวลง เนื่องจากนักลงทุนวิตกเกี่ยวกับอุปสงค์ของจีนในปีนี้ หลังจากจีนเปิดเผยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ชะลอตัวเกินคาดในไตรมาส 4/2566
  • สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานโดยอ้างอิงข้อมูลที่รวบรวมได้มาว่า ในปี 2566 อินเดียนำเข้าน้ำมันดิบจากกลุ่มประเทศโอเปก (OPEC) ในระดับต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์ ในขณะที่การนำเข้าน้ำมันจากรัสเซียซึ่งมีราคาถูกกว่านั้นก็พุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์เช่นกัน
Facebook
Twitter
Email

ข่าวสารเพิ่มเติม

วิเคราะห์ทองคำประจำวันที่ 16/02/2023

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 5 สัปดาห์ในวันพุธที่ผ่านมา เนื่องจากการแข็งค่าของดอลลาร์และความกังวลเกี่ยวกับภาวะอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นเป็นปัจจัยกดดันตลาด

อ่านเพิ่มเติม