logo

ข่าวเศรษฐกิจรอบโลกประจำวันที่ 6 มีนาคม 2567

  • ราคา Bitcoin ร่วงดิ่งอย่างรุนแรงหลุดระดับ 60,000 ดอลลาร์ หลังแตะระดับ 69,000 ดอลลาร์ไม่นาน
  • Ethereum เผาเหรียญเพิ่มไป 17,087 ETH มูลค่ากว่า 2.2 พันล้านบาท
  • นักวิเคราะห์คาดการณ์ ราคา ADA อาจพุ่งแรงถึง 1,200% หากราคายังคงแนวโน้มขาขึ้นเหมือนปี 2021
  • ปริมาณการซื้อขาย Bitcoin ETF ทำลายสถิติสูงสุดตลอดกาล หลังพุ่งทะลุ 2.4 พันล้านดอลลาร์
  • Donald Trump กล่าวว่าจะไม่ต่อต้าน Bitcoin และสามารถอยู่กับมันได้
  • กระเป๋าคริปโตที่คาดว่าเป็นของ Justin Sun ได้ช้อน ETH เกือบ 5 ร้อยล้านดอลลาร์ในเวลาเพียง 2 สัปดาห์
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปรับตัวเพิ่มขึ้นในการซื้อขายเมื่อวันอังคาร โดยตลาดยังคงขานรับการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิ.ย. ขณะเดียวกัน นักลงทุนยังคาดหวังว่า ธนาคารกลางในประเทศอื่น ๆ จะผ่อนคลายนโยบายการเงินในปีนี้ด้วย
  • นอกจากนี้ ทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยยังได้แรงหนุนจากความกังวลเรื่องสถานการณ์ขัดแย้งในตะวันออกกลาง โดยราคาทองคำปรับตัวขึ้นมากกว่า 300 ดอลลาร์แล้วนับตั้งแต่สงครามอิสราเอล-ฮามาสได้เปิดฉากขึ้น
  • ราคาทองคำตลาดโลก ปรับตัวขึ้น 14.4 เหรียญ หรือ 0.68% อยู่ที่ระดับ 2,128.4 เหรียญ
  • สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือนเม.ย. เพิ่มขึ้น 15.60 เหรียญ หรือ 0.73% ปิดที่ 2,141.90 เหรียญ
  • สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนพ.ค. ขยับลง 0.70 เซนต์ หรือ 0.03% ปิดที่ 23.984 เหรียญ
  • สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย. ลดลง 17.10 เหรียญ หรือ 1.89% ปิดที่ 887.20 เหรียญ
  • กองทุนทองคำ SPDR วันก่อนหน้าไม่เปลี่ยนแปลง ปัจจุบันถือครองที่ 821.47 ตันภาพรวมเดือนมีนาคม ขายสุทธิ 1.44 ตัน ขณะที่ปีนี้ ตั้งแต่ 1 ม.ค. – ปัจจุบัน ขายสุทธิ 57.64 ตัน
  • นักลงทุนจับตาถ้อยแถลงของ เจอโรม พาวเวล ประธานเฟด ในสัปดาห์นี้ หลังราคาทองพุ่งต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 2 ด้านนักวิเคราะห์มองว่า เมื่อเฟดเริ่มลดดอกเบี้ย จะดันราคาทองคำขึ้นแตะ 2,300 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้
  • ทองโลกพุ่งแตะ 2,141.79 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยเมื่อวานนี้ราคาทองคำขยับเพิ่มขึ้น 1.3% โดยทำสถิติสูงสุดใหม่ จากจุดสูงสุดเดิมที่ 2,135.39 ดอลลาร์เมื่อสามเดือนก่อน 
  • ดัชนีดอลลาร์ ปรับตัวลดลง -0.04 จุด หรือ -0.04% มาอยู่ที่ระดับ 103.81 จุด
  • อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี  ปรับตัวลดลง -0.06 % มาอยู่ที่ระดับ 4.153% ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปี ปรับตัวลดลง -0.05 % มาอยู่ที่ระดับ 4.564% โดยที่ส่วนต่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ 10 ปี น้อยกว่า 2 ปี เท่ากับ-0.41% อยู่ในภาวะ inverted yield curve
  • เอสแอนด์พี โกลบอลเปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้ายของสหรัฐ ปรับตัวลงสู่ระดับ 52.3 ในเดือนก.พ. จากระดับ 52.5 ในเดือนม.ค. แต่สูงกว่าตัวเลขเบื้องต้นที่ระดับ 51.3 โดยดัชนี PMI ยังคงสูงกว่าระดับ 50 ซึ่งบ่งชี้การขยายตัวในภาคบริการของสหรัฐ โดยเป็นการขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5
  • กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า คำสั่งซื้อภาคโรงงานของสหรัฐดิ่งลง 3.6% ในเดือนม.ค. เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากลดลง 0.3% ในเดือนธ.ค. ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าคำสั่งซื้อภาคโรงงานลดลงเพียง 2.9% ในเดือนม.ค. และเมื่อเทียบรายปี คำสั่งซื้อภาคโรงงานลดลง 1.6% ในเดือนม.ค.
  • นายกรัฐมนตรีจีนระบุว่า จีนจะตั้งเป้าหมายการเติบโตของเศรษฐกิจที่ประมาณ 5% ในปีนี้ และจะทำงานเพื่อพลิกโฉมรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศ, ควบคุมศักยภาพทางอุตสาหกรรมไม่ให้มากเกินไป, ลดความเสี่ยงในภาคอสังหาริมทรัพย์ และลดการใช้จ่ายที่ไม่เป็นประโยชน์ของรัฐบาลท้องถิ่น
  • คณะกรรมการเพื่อการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติ (NDRC) ของจีนเปิดเผยว่า จีนเตรียมยกเลิกข้อจำกัดด้านการลงทุนในต่างประเทศทั้งหมดในภาคการผลิต และผ่อนปรนข้อจำกัดการเข้าถึงตลาดในอุตสาหกรรมบริการ เช่น โทรคมนาคม และบริการทางการแพทย์
  • ไฉซินและเอสแอนด์พี โกลบอล เปิดเผยว่า กิจกรรมภาคบริการของจีนขยายตัวในอัตราชะลอลงในเดือนก.พ. ขณะที่ความเชื่อมั่นทางธุรกิจลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 และบริษัทต่าง ๆ ลดจำนวนพนักงานลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนพ.ย. ทั้งนี้ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการของจีน อยู่ที่ระดับ 52.5 ในเดือนก.พ. ลดลงจาก 52.7 ในเดือนม.ค. แต่ยังคงอยู่เหนือระดับ 50 ซึ่งบ่งชี้ว่ากิจกรรมธุรกิจอยู่ในภาวะขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 14 แล้ว
  • ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) ของกรุงโตเกียว ปรับตัวสูงขึ้นในเดือนก.พ. หลังจากอยู่ในระดับต่ำที่สุดในรอบ 22 เดือนในเดือนม.ค. ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าอัตราเงินเฟ้อในญี่ปุ่นจะยังคงอยู่ในระดับสูงต่อไป และทำให้ตลาดคาดการณ์ว่า มีความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
  • สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันอังคาร โดยไม่ได้รับแรงหนุนจากรายงานที่ว่า กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และชาติพันธมิตร หรือโอเปกพลัส มีมติขยายเวลาลดกำลังการผลิตน้ำมันโดยสมัครใจไปจนถึงไตรมาส 2/2567 เพื่อพยุงราคาน้ำมันในตลาด
  • สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนเม.ย. ลดลง 59 เซนต์ หรือ 0.75% ปิดที่ 78.15 ดอลลาร์/บาร์เรล
  • สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนพ.ค. ลดลง 76 เซนต์ หรือ 0.92% ปิดที่ 82.04 ดอลลาร์/บาร์เรล
  • สถาบันปิโตรเลียมอเมริกา (API) เปิดเผยว่า สต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐเพิ่มขึ้น 423,000 บาร์เรล ในสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 1 มี.ค. ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 2.6 ล้านบาร์เรล หลังจากที่พุ่งขึ้นถึง 8.428 ล้านบาร์เรลในรอบสัปดาห์ก่อนหน้านั้น
  • ทั้งนี้ นักลงทุนจับตาการเปิดเผยสต็อกน้ำมันดิบอย่างเป็นทางการจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) ในคืนนี้ 
Facebook
Twitter
Email

ข่าวสารเพิ่มเติม

วิเคราะห์ทองคำประจำวันที่ 25/04/2024

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบติดต่อกันเป็นวันที่ 3 ในวันพุธ หลังจากสถานการณ์ตึงเครียดในตะวันออกกลางบรรเทาลง ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)

อ่านเพิ่มเติม