logo

ข่าวเศรษฐกิจรอบโลกประจำวันที่ 20 มีนาคม 2567

  • ดัชนีดอลลาร์ ปรับตัวขึ้น 0.25 จุด หรือ 0.24% มาอยู่ที่ระดับ 103.84 จุด
  • อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี  ปรับตัวลดลง -0.03 % มาอยู่ที่ระดับ 4.295% ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปี ปรับตัวลดลง -0.05 % มาอยู่ที่ระดับ 4.689% โดยที่ส่วนต่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ 10 ปี น้อยกว่า 2 ปี เท่ากับ-0.39% อยู่ในภาวะ inverted yield curve
  • ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยน หลังจากธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ประกาศยุตินโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้
  • นักเศรษฐศาสตร์สหรัฐของบล.โนมูระกล่าวว่า “อัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงเป็นเวลานาน 2 เดือนไม่ได้บ่งชี้ว่า เฟดพ่ายแพ้แล้วในการต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อ แต่สิ่งนี้บ่งชี้ถึงความเสี่ยงที่เพิ่มสูงขึ้นจากปัญหาด้านเงินเฟ้อ และด้วยเหตุนี้จึงเป็นสิ่งที่สมเหตุสมผลที่เฟดจะใช้ความระมัดระวัง” และเขากล่าวเสริมว่า “มีความเป็นไปได้ที่เฟดจะใช้นโยบายการเงินแบบเข้มงวดเป็นเวลานานยิ่งขึ้น”
  • หัวหน้านักยุทธศาสตร์การลงทุนมหภาคสหรัฐของบล.ทีดีคาดว่า เฟดจะยังคงคาดการณ์ตามเดิมว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 3 ครั้งในปีนี้
  • นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารดอยช์ แบงก์คาดว่า มีความเสี่ยงด้านสูงต่อตัวเลขคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อของเฟด และคาดว่า เฟดจะยังคงคาดการณ์ตามเดิมเรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 3 ครั้งในปีนี้ โดยเฟดอาจจะเริ่มต้นปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในเดือนมิ.ย.
  • บริษัทหลักทรัพย์ชั้นนำหลายแห่งคาดว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิ.ย. ซึ่งช้ากว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ช่วงต้นปีนี้ ขณะที่ภาวะเงินเฟ้อที่คงอยู่นานทำให้เกิดความวิตกเกี่ยวกับการลดอัตราดอกเบี้ยเร็วเกินไป
  • ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุม ซึ่งเป็นการปรับขึ้นครั้งแรกในรอบ 17 ปีหรือนับตั้งแต่ปี 2550 พร้อมกับประกาศยกเลิกนโยบายควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทน (YCC) ซึ่งถือเป็นการยุติการใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบที่ดำเนินการมาเป็นเวลานานและเป็นประเทศสุดท้ายของโลก หลังจากมีสัญญาณบ่งชี้ว่าค่าจ้างของญี่ปุ่นปรับตัวขึ้นในปีนี้ ทั้งนี้ คณะกรรมการ BOJ มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นสู่ระดับ 0 ถึง 0.1% จากระดับ -0.1%
  • ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นกว่า 300 จุดในวันอังคาร โดยได้แรงหนุนจากการปรับตัวลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ ส่วนดัชนี S&P500 และ Nasdaq ยังคงปิดในแดนบวก หลังจากหุ้นอินวิเดีย (Nvidia) พุ่งขึ้นขานรับการเปิดตัวชิปปัญญาประดิษฐ์ (AI) รุ่นใหม่ ขณะที่นักลงทุนจับตาผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งจะมีการแถลงในวันนี้ตามเวลาสหรัฐ
  • ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 39,110.76 จุด เพิ่มขึ้น 320.33 จุด หรือ +0.83%
  • ดัชนี S&P500 ปิดที่ 5,178.51 จุด เพิ่มขึ้น 29.09 จุด หรือ +0.56% 
  • ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 16,166.79 จุด เพิ่มขึ้น 63.34 จุด หรือ +0.39%
  • นายออกัสติน คาร์สเทนส์ ผู้จัดการทั่วไปธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (BIS) เตือนว่า ประเทศชั้นนำของโลกกำลังจะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวลงอย่างนุ่มนวล แต่ภาวะเงินเฟ้อยังไม่ได้ถูกจัดการทั้งหมด
  • ตลาดคริปโตสั่นสะเทือน!  Bitcoin ดิ่งเหวทะลุ $62,000 เงินทุนไหลออกจาก ETF หนุนราคาทรุด
  • ตามคาด ! SEC ตัดสินใจเลื่อนการสมัคร Ethereum Spot ETF ของ Hashdex หลังเสี่ยงต่อการถูกปั่นราคา
  • นักวิเคราะห์คาดราคา Bitcoin จะพุ่งขึ้นแตะ 140,000 ดอลลาร์ได้ในอีก 3 สัปดาห์ข้างหน้า!
  • ปริมาณซื้อขาย Dogecoin พุ่งทะยานสู่อันดับ 7 แซงหน้าเหรียญมีมตัวอื่นแม้จะทำกำไรได้น้อยกว่า
  • ‘ปูติน’ ไฟเขียว! รัสเซียลุย CBDC เต็มสูบ เตรียมปล่อย “รูเบิลดิจิทัล” สู่ระบบเศรษฐกิจ
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันอังคาร เนื่องจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์เป็นปัจจัยกดดันตลาดทองคำ ขณะที่นักลงทุนจับตาผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันนี้ตามเวลาสหรัฐ และรอดูการแถลงข่าวของนายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟด
  • ราคาทองคำตลาดโลก ปรับตัวลดลง -2.75 เหรียญ หรือ -0.13% อยู่ที่ระดับ 2,157.58 เหรียญ
  • สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือนเม.ย. ลดลง 4.60 ดอลลาร์ หรือ 0.21% ปิดที่ 2,159.70 ดอลลาร์/ออนซ์
  • สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนพ.ค. ลดลง 13.00 เซนต์ หรือ 0.51% ปิดที่ 25.135 ดอลลาร์/ออนซ์
  • สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย. ลดลง 20.10 ดอลลาร์ หรือ 2.18% ปิดที่ 901.10 ดอลลาร์/ออนซ์
  • กองทุนทองคำ SPDR วันก่อนหน้าซื้อเข้า 4.03 ตัน ปัจจุบันถือครองที่ 837.35 ตันภาพรวมเดือนมีนาคม ซื้อสุทธิ 14.44 ตัน ขณะที่ปีนี้ ตั้งแต่ 1 ม.ค. – ปัจจุบัน ขายสุทธิ 41.76 ตัน
  • สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกติดต่อกันเป็นวันที่ 2 ในวันพุธ โดยได้ปัจจัยหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่าอุปทานน้ำมันในตลาดโลกจะได้รับผลกระทบจากการที่ยูเครนเดินหน้าโจมตีโรงกลั่นน้ำมันของรัสเซีย ขณะที่นักลงทุนจับตารายงานสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐในวันนี้
  • สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนเม.ย. เพิ่มขึ้น 75 เซนต์ หรือ 0.91% ปิดที่ 83.47 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 27 ต.ค. 2566
  • สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนพ.ค. เพิ่มขึ้น 49 เซนต์ หรือ 0.56% ปิดที่ 87.38 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 31 ต.ค. 2566
  • กองกำลังทหารของยูเครนได้ทำการโจมตีโรงกลั่นน้ำมันของรัสเซียหลายครั้งในปีนี้ โดยเฉพาะในเดือนนี้ที่โรงกลั่นน้ำมันอย่างน้อย 7 แห่งถูกโจมตีด้วยโครนของยูเครน ส่งผลให้การกลั่นน้ำมันในรัสเซียลดลงในปริมาณ 370,500 บาร์เรล/วัน หรือคิดเป็นสัดส่วน 7% ของกำลังการกลั่นในประเทศ
  • นักวิเคราะห์ด้านพลังงานจากบริษัท StoneX คาดการณ์ว่า การโจมตีโรงกลั่นน้ำมันในรัสเซียอาจจะส่งผลให้อุปทานน้ำมันในตลาดโลกลดลงราว 350,000 บาร์เรล/วัน และจะเป็นปัจจัยหนุนราคาน้ำมันดิบสหรัฐพุ่งขึ้น 3 ดอลลาร์/บาร์เรล
  • สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า รัสเซียจะเพิ่มการส่งออกน้ำมันจากท่าเรือตะวันตกในเดือนมี.ค. เกือบ 200,000 บาร์เรลต่อวัน จากเป้าหมายรายเดือนที่ 2.15 ล้านบาร์เรลต่อวัน และตลาดคาดการณ์ว่า รัสเซียจะเพิ่มการส่งออกอีก ท่ามกลางเหตุโจมตีด้วยโดรนต่อโรงกลั่นน้ำมันรัสเซีย
  • ราคาน้ำมันยังได้รับปัจจัยบวกจากรายงานที่ว่า อิรัก ซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมันดิบรายใหญ่อันดับ 2 ในกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ประกาศว่าจะปรับลดการส่งออกน้ำมันดิบลงสู่ระดับ 3.3 ล้านบาร์เรล/วันในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้
Facebook
Twitter
Email

ข่าวสารเพิ่มเติม

วิเคราะห์ทองคำประจำวันที่ 31/03/2023

ตัวเลขเศรษฐกิจที่นักลงทุนควรเฝ้าระวังในวันนี้ได้แก่ ดัชนี PCE ดัชนี , PMI (เขตชิคาโก) และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคจาก UoM ซึ่งหากตัวเลขดังกล่าวออกมามากกว่าคาดจะส่งผลหนุนราคาทองคำ

อ่านเพิ่มเติม