ข่าวเกี่ยวกับค่าเงิน และธนาคารกลาง
- ดัชนีดอลลาร์ ปรับตัวลดลง -0.06 จุด หรือ -0.06% มาอยู่ที่ระดับ 104.48 จุด
- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ปรับตัวลดลง -0.01 % มาอยู่ที่ระดับ 4.2% ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปี ปรับตัวลดลง -0.03 % มาอยู่ที่ระดับ 4.6% โดยที่ส่วนต่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ 10 ปี น้อยกว่า 2 ปี เท่ากับ-0.4% อยู่ในภาวะ inverted yield curve
- เจอโรม พาวเวล ประธานเฟดได้ออกมาขานรับดัชนี PCE เดือนก.พ.ของสหรัฐ โดยกล่าวว่าเป็นข้อมูลที่สอดคล้องกับสิ่งที่เฟดต้องการจะเห็น พาวเวลกล่าว “เป็นเรื่องดีที่เห็นว่าข้อมูลดังกล่าวสอดคล้องกับที่เราคาดการณ์ไว้ และแม้ว่าเงินเฟ้อได้ชะลอตัวน้อยกว่าในปีที่แล้ว แต่เฟดก็จะไม่ดำเนินมาตรการที่รุนแรงเกินไป” โดยการแสดงความเห็นของพาวเวล บ่งชี้ว่าเฟดยังคงมีแนวโน้มปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้
- สมาชิกคณะกรรมการกำหนดนโยบายของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) กล่าว อีซีบีมีแนวโน้มที่จะเริ่มต้นปรับลดอัตราดอกเบี้ย “ปานกลาง” และอีซีบีน่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงโดยไม่ต้องคำนึงถึงกรอบเวลาของธนาคารกลางสหรัฐ
- ธนาคารกลางของรัสเซียเปิดเผยว่า ไม่มีทางเลือกใดที่ดีไปกว่าเงินหยวนของจีนสำหรับใช้เป็นทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ หลังจากรัสเซียทำสงครามกับยูเครนมานานสองปีแล้ว และได้ถูกยึดทรัพย์สินในต่างประเทศ
- รัฐมนตรีคลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ญี่ปุ่นไม่ได้กำหนดระดับของเงินเยนอย่างเจาะจงว่าเงินเยนจะต้องอ่อนค่าลงสู่ระดับใดจึงจะเข้าแทรกแซงตลาด ขณะที่นักลงทุนส่วนใหญ่คาดการณ์ว่ารัฐบาลญี่ปุ่นอาจจะเข้าแทรกแซงตลาดหากเงินเยนร่วงลงหลุดจากระดับ 152 เยนต่อดอลลาร์
ข่าวเศรษฐกิจสำคัญ
- ดัชนีดาวโจนส์ฟิวเจอร์ดีดตัวขึ้นกว่า 100 จุดในช่วงเช้าวันนี้ ขานรับรายงานที่ระบุว่า ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วน (PCE) ของสหรัฐออกมาสอดคล้องกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์
- รองหัวหน้าสำนักปริวรรตเงินตราของรัฐบาลจีน (SAFE) ได้กล่าวในการประชุมประจำปีว่า จีนจะอำนวยความสะดวกให้แก่การเคลื่อนย้ายเงินทุนเข้าและออกจากจีน และจะส่งเสริมการเปิดเสรีตลาดการเงิน ในขณะที่รัฐบาลจีนพยายามดึงดูดนักลงทุนต่างชาติท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศ.
- ธนาคารรายใหญ่ที่สุด 5 แห่งของจีนเปิดเผยส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) ที่หดตัวลง ขณะเดียวกันก็เตือนถึงความเสี่ยงที่ยังคงมีอยู่ของภาคอสังหาริมทรัพย์ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงนั้น ธนาคารของจีนได้ถูกกดดันให้ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงเพื่อสนับสนุนภาคส่วนต่าง ๆ ขณะที่ความต้องการกู้ยืมลดลง
- เงินเฟ้อในกรุงโตเกียวเติบโตชะลอตัวลงในเดือนมี.ค. ซึ่งสนับสนุนให้ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ดำเนินนโยบายการเงินแบบระมัดระวังหลังจากประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2550 เมื่อวันอังคารที่ 19 มี.ค.ที่ผ่านมา โดยดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) ซึ่งไม่รวมราคาอาหารสดในกรุงโตเกียวปรับตัวขึ้น 2.4% ในเดือนมี.ค. ซึ่งชะลอลงเล็กน้อยจาก 2.5% ในเดือนก.พ. แต่สอดคล้องกับการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของจีนเดือนมี.ค. พลิกกลับมาขยายตัว โดยเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 50.8 ในเดือนมี.ค. จากระดับ 49.1 ในเดือนก.พ. ส่วนดัชนีรวมภาคการผลิตและบริการ ขยายตัวอยู่ที่ 52.7 ในเดือนมี.ค. จาก 50.9 ในเดือนก.พ.
ข่าวเกี่ยวกับทองคำ
- ราคาทองคำตลาดโลก ปรับตัวขึ้น 39.0 เหรียญ หรือ 1.78% อยู่ที่ระดับ 2,233.0 เหรียญ
- กองทุนทองคำ SPDR วันก่อนหน้าไม่เปลี่ยนแปลง ปัจจุบันถือครองที่ 830.15 ตันภาพรวมเดือนมีนาคม ซื้อสุทธิ 7.24 ตัน ขณะที่ปีนี้ ตั้งแต่ 1 ม.ค. – ปัจจุบัน ขายสุทธิ 48.96 ตัน
- ราคาทองฟิวเจอร์พุ่งขึ้นกว่า 1% ทะลุระดับ 2,260 ดอลลาร์/ออนซ์ในช่วงเช้านี้ ขานรับดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วน (PCE) ของสหรัฐออกมาสอดคล้องกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ ซึ่งทำให้นักลงทุนมีความมั่นใจมากขึ้นว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้
- ซีอีโอของแบล็คร็อค (BlackRock) บริษัทบริหารสินทรัพย์รายใหญ่ที่สุดในโลก ระบุว่า ความหลงใหลในทองคำของชาวอินเดียไม่ได้เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจหรือสร้างผลตอบแทนที่ดีสำหรับนักลงทุน โดยทองคำให้ผลตอบแทนน้อยกว่าการลงทุนในตลาดหุ้นอินเดีย
ข่าวน้ำมัน
- ราคาน้ำมันดิบ Brent ร่วงลง 17 เซนต์หรือ 0.2% สู่ระดับ 86.83 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลภ หลังจากเพิ่มขึ้น 2.4% ในสัปดาห์ที่แล้ว
- ราคาน้ำมันดิบ WTI ของสหรัฐอยู่ที่ 83.06 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ลดลง 11 เซนต์ หรือ 0.1% หลังจากเพิ่มขึ้น 3.2% ในสัปดาห์ที่แล้ว
- ราคาน้ำมันปรับตัวลดลงเล็กน้อยในเช้านี้ โดยยังคงรักษาการเพิ่มขึ้นส่วนใหญ่ในช่วงที่ผ่านมา ท่ามกลางความคาดหวังว่าอุปทานที่เข้มงวดมากขึ้นจากการลดจำนวน OPEC+, การโจมตีโรงกลั่นน้ำมันของรัสเซีย และข้อมูลการผลิตของจีนที่ปรับตัวดีขึ้น
- สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงาน (EIA) เปิดเผยข้อมูล บ่งชี้ว่า การผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐลดลงในเดือนม.ค. 2567 เหลือ 12.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งลดลง 6% จากระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในเดือนธ.ค. 2566 หลังสภาพอากาศหนาวเย็นจัด
- กิจกรรมการผลิตของจีนขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือนในเดือนมีนาคม การสำรวจโรงงานอย่างเป็นทางการเผยให้เห็นเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ซึ่งสนับสนุนความต้องการน้ำมันของผู้นำเข้าน้ำมันดิบรายใหญ่ที่สุดของโลก แม้ว่าวิกฤตในภาคอสังหาริมทรัพย์ยังคงเป็นอุปสรรคต่อเศรษฐกิจก็ตาม