logo

ข่าวเศรษฐกิจรอบโลกประจำวันที่ 4 เมษายน 2567

  • ดัชนีดอลลาร์ ปรับตัวลดลง -0.55 จุด หรือ -0.52% มาอยู่ที่ระดับ 104.23 จุด
  • อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี  ปรับตัวลดลง -0.01 % มาอยู่ที่ระดับ 4.345% ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปี ปรับตัวลดลง -0.01 % มาอยู่ที่ระดับ 4.679% โดยที่ส่วนต่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ 10 ปี น้อยกว่า 2 ปี เท่ากับ-0.33% อยู่ในภาวะ inverted yield curve
  • นายพาวเวลกล่าวสุนทรพจน์ในการประชุมว่าด้วยแนวโน้มเศรษฐกิจซึ่งจะจัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดเมื่อวานนี้ โดยเขาได้แสดงความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจสหรัฐ และการใช้นโยบายการเงินของเฟด ทั้งนี้ นายพาวเวลกล่าวว่า “เฟดกำลังใช้เครื่องมือในการทำให้เงินเฟ้อปรับตัวลงสู่ระดับ 2% ขณะเดียวกันก็รักษาความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจเช่นกัน ตัวเลขการจ้างงานและเงินเฟ้อในระยะนี้ต่างก็อยู่สูงกว่าที่มีการคาดการณ์ไว้ แต่ข้อมูลดังกล่าวไม่ได้เปลี่ยนแปลงภาพรวมอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งยังคงบ่งชี้การขยายตัวทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง ตลาดแรงงานที่มีการปรับสมดุล ขณะที่เงินเฟ้อกำลังปรับตัวลงสู่ระดับ 2% แม้บางครั้งอาจไม่ต่อเนื่อง
  • นางแมรี ดาลี ประธานเฟดสาขาซานฟรานซิสโก และนางลอเรตตา เมสเตอร์ ประธานเฟดสาขาคลีฟแลนด์ คาดการณ์ว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 3 ครั้งในปีนี้ โดยนางดาลีและนางเมสเตอร์ต่างก็เป็นกรรมการที่มีสิทธิ์ออกเสียงในการกำหนดนโยบายการเงินของเฟดในปีนี้
  • นายราฟาเอล บอสติก ประธานเฟดสาขาแอตแลนตา คาดว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพียง 1 ครั้งในปีนี้ และจะเกิดขึ้นในไตรมาส 4/2567 พร้อมกับกล่าวว่าประสิทธิภาพการผลิตที่แข็งแกร่ง และการฟื้นตัวของห่วงโซ่อุปทาน รวมทั้งตลาดแรงงานที่ยืดหยุ่น สิ่งเหล่านี้ล้วนบ่งชี้ว่าเงินเฟ้อจะปรับตัวลงช้ากว่าที่มีการคาดการณ์ไว้
  • นายโรเบิร์ต ฮอลซ์มานน์ ผู้ว่าการธนาคารกลางออสเตรีย และสมาชิกสภาบริหารธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) กล่าวว่า อีซีบีอาจจะเริ่มลดอัตราดอกเบี้ยได้ในเดือนมิ.ย. ขณะที่อัตราเงินเฟ้ออาจลดลงเร็วกว่าคาด แต่ก็ไม่ควรจะดำเนินการก่อนธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เร็วเกินไป เนื่องจากนั่นจะลดศักยภาพของการลดดอกเบี้ย
  • ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบติดต่อกันเป็นวันที่ 3 ในวันพุธ เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับทิศทางอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) หลังจากนายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟดส่งสัญญาณไม่เร่งปรับลดอัตราดอกเบี้ย
  • ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 39,127.14 จุด ลดลง 43.10 จุด หรือ -0.11%
  • ดัชนี S&P500 ปิดที่ 5,211.49 จุด เพิ่มขึ้น 5.68 จุด หรือ +0.11% 
  • ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 16,277.46 จุด เพิ่มขึ้น 37.01 จุด หรือ +0.23%
  • สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคบริการของสหรัฐปรับตัวลงสู่ระดับ 51.4 ในเดือนมี.ค. จากระดับ 52.6 ในเดือนก.พ. โดยดัชนีภาคบริการเดือนมี.ค.ปรับตัวลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 และลดลงสู่ระดับต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 52.7
  • เงินเฟ้อในยูโรโซนชะลอตัวสู่ระดับ 2.4% ในเดือนมี.ค. ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์ในผลสำรวจของสำนักข่าวรอยเตอร์คาดการณ์ว่าจะทรงตัวที่ระดับ 2.6%
  • ผลผลิตทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นฟื้นตัวเต็มศักยภาพเป็นครั้งแรกในรอบประมาณ 4 ปีในไตรมาส 4/2566 ซึ่งส่งสัญญาณเชิงบวกว่าอาจหนุนให้ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้ง
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในวันพุธ เนื่องจากนักลงทุนขานรับถ้อยแถลงของนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่แสดงมุมมองบวกต่อภาพรวมของเศรษฐกิจสหรัฐ ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐในวันศุกร์นี้ เพื่อหาสัญญาณที่ชัดเจนเกี่ยวกับทิศทางดอกเบี้ยของเฟด
  • ราคาทองคำตลาดโลก ปรับตัวขึ้น 19.11 เหรียญ หรือ 0.84% อยู่ที่ระดับ 2,299.93 เหรียญ
  • สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้น 33.2 ดอลลาร์ หรือ 1.45% ปิดที่ 2315.0 ดอลลาร์/ออนซ์
  • สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนพ.ค. เพิ่มขึ้น 1.13 เซนต์ หรือ 4.39% ปิดที่ 27.06 ดอลลาร์/ออนซ์
  • สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนก.ค. เพิ่มขึ้น 12.20 ดอลลาร์ หรือ 1.31% ปิดที่ 946.50 ดอลลาร์/ออนซ์
  • กองทุนทองคำ SPDR วันก่อนหน้าซื้อเข้า 1.72 ตัน ปัจจุบันถือครองที่ 830.72 ตันภาพรวมเดือนเมษายน ซื้อสุทธิ 0.57 ตัน ขณะที่ปีนี้ ตั้งแต่ 1 ม.ค. – ปัจจุบัน ขายสุทธิ 48.39 ตัน
  • สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันพุธ ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นติดต่อกันวันที่ 4 หลังสหรัฐเปิดเผยสต็อกน้ำมันเบนซินลดลงมากกว่าคาดในสัปดาห์ที่แล้ว นอกจากนี้ ราคาน้ำมันยังได้แรงหนุนจากสถานการณ์ตึงเครียดในตะวันออกกลางซึ่งอาจส่งผลกระทบต่ออุปทานน้ำมันในตลาด
  • สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนพ.ค. เพิ่มขึ้น 28 เซนต์ หรือ 0.33% ปิดที่ 85.43 ดอลลาร์/บาร์เรล
  • สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนพ.ค. เพิ่มขึ้น 43 เซนต์ หรือ 0.48% ปิดที่ 89.35 ดอลลาร์/บาร์เรล
  • นักลงทุนยังขานรับผลการประชุมของคณะกรรมการร่วมด้านการตรวจสอบระดับรัฐมนตรี (JMMC) ของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันและชาติพันธมิตร หรือโอเปกพลัส เมื่อวานนี้ โดยที่ประชุมมีมติให้โอเปกพลัสยังคงปรับลดกำลังการผลิต 2.2 ล้านบาร์เรล/วัน ซึ่งเป็นไปในลักษณะของการสมัครใจของประเทศสมาชิก ขณะที่ซาอุดีอาระเบียปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันโดยสมัครใจจำนวน 1 ล้านบาร์เรล/วัน
  • กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ผลิตน้ำมันลดลงในเดือนมี.ค. ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าอิรักและไนจีเรียปรับลดการส่งออกน้ำมัน หลังจากที่สมาชิกของกลุ่มโอเปกพากันปรับลดอุปทานน้ำมันตามข้อตกลงที่ทำร่วมกับชาติสมาชิกของโอเปกและพันธมิตร หรือโอเปกพลัส
  • รัฐบาลสหรัฐได้ระงับแผนการซื้อน้ำมันเข้าคลังสำรองน้ำมันเชิงยุทธศาสตร์ (SPR) เพราะราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้น
Facebook
Twitter
Email

ข่าวสารเพิ่มเติม

ทองปิดบวก 17.10  ดอลลาร์ ในวันศุกร์ที่ผ่านมา หลังเปิดเผยตัวเลขจ้างงานออกมาต่ำกว่าคาด

ตลาดจับตาตัวเลข CPI ประจำเดือนมิถุนายน ซึ่งมีผลต่อการกำหนดทิศทางดอกเบี้ยนโยบายเฟด โดยนักวิเคราะห์คาดว่าตัวเลขเงินเฟ้อจะชะลอตัวลงสู่ระดับ 3.1% จากระดับ 4% ในเดือนก่อนหน้า

อ่านเพิ่มเติม

ราคาทองคำปรับตัวลดลง หลังเปิดเผยดัชนี PMI ออกมาดีกว่านักวิเคราะห์คาดไว้

นักลงทุนจับตาการส่งสัญญาณทิศทางการปรับอัตราดอกเบี้ยของเฟด และดัชนี PCE ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อของผู้บริโภคโดยครอบคลุมทั้งสินค้าและบริการมากกว่า CPI

อ่านเพิ่มเติม