ข่าวราคาทองคำ
ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อตลาดทองคำคือดัชนีดอลลาร์ โดยเมื่อคืนนี้ดัชนีดอลลาร์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.34% สู่ระดับ 101.42 จุด และบอนด์ยีลด์สหรัฐอายุ 10 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.03% มาอยู่ที่ระดับ 3.876%
ราคาทองคำปิดลบ 4.40 ดอลลาร์ เนื่องจากตลาดทองคำถูกแรงกดดันจากการแข็งค่าของดัชนีดอลลาร์และบอนด์ยีลด์สหรัฐพุ่งขึ้น นอกจากนี้ราคาทองคำยังได้รับแรงกดดันก่อนการประชุมเฟดในวันที่ 25 – 26 ก.ค. โดยนักลงทุนส่วนใหญ่คาดว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมครั้งนี้ ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะไม่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกในปีนี้หลังจากที่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนนี้แล้ว ซึ่งราคาทองคำก็อาจจะดีดตัวกลับไปยืนเหนือระดับ 2,000 ดอลลาร์อีกครั้ง
นักลงทุนได้จับตาการประชุมเฟดอย่างใกล้ชิดว่า เฟดจะส่งสัญญาณเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่อง หรือ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนกรกฎาคมจะเป็นครั้งสุดท้าย เนื่องจากแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อชะละตัวลงมาก
ทั้งนี้ เครื่องมือ FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนักถึง 99.8% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 5.25-5.50% และในน้ำหนักเพียง 0.2% ที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 5.00-5.25% ในการประชุมวันที่ 25 – 26 ก.ค.
ทั้งนี้ นักลงทุนยังจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ประจำเดือน มิ.ย.ของสหรัฐในวันศุกร์นี้ ซึ่งดัชนี PCE เป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่สำคัญ
มุมมองนักวิเคราะห์และข่าวธนาคารกลาง
✎รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อและค่าจ้างของญี่ปุ่นพุ่งขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งบ่งชี้ถึงว่าแนวทางการกำหนดค่าจ้างของภาคเอกชนญี่ปุ่นกำลังเปลี่ยนแปลงไป โดยสถานการณ์ดังกล่าวอาจจะทำให้ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ปรับเพิ่มคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในการประชุมนโยบายการเงินสัปดาห์นี้
ราคาทองคำวันนี้
➤ ราคาทองคำตลาดโลก
ปรับตัวลดลง -7.24 เหรียญ หรือ -0.37% อยู่ที่ระดับ 1,954.72 ดอลลาร์
➤ สัญญาทองคำตลาด COMEX
ส่งมอบเดือนส.ค. ลดลง 4.40 เหรียญ หรือ 0.2% ปิดที่ 1,962.20 ดอลลาร์/ออนซ์
➤ กองทุนทองคำ SPDR
วันก่อนหน้าไม่เปลี่ยนแปลง ปัจจุบันถือครองที่ 919.0 ตันภาพรวมเดือนกรกฎาคม ขายสุทธิ 2.9 ตัน ขณะที่ปีนี้ ตั้งแต่ 1 ม.ค. – ปัจจุบัน ซื้อสุทธิ 1.36 ตัน
ปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาทองคำ
-ดัชนีดอลลาร์แข็งค่ากดดันทอง
-บอนด์ยีลด์พุ่งกดดันทอง
-ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ
-ความเห็นเจ้าหน้าที่เฟด
-การประชุมของธนาคาร FED ECB และ BOJ
หมายเหตุ : ข้อมูลข้างต้นอาจมีความคลาดเคลื่อน เนื่องจากสินทรัพย์ดิจิทัลมีการซื้อขายตลอด 24 ชม. ไม่ควรใช้เพื่อการตัดสินใจลงทุนหรือซื้อขาย ข้อมูลดังกล่าวไม่มีเจตนาชี้นำการลงทุน ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลให้รอบคอบ