logo

นักลงทุนซื้อขายทองคำอย่างระมัดระวังก่อนการประกาศตัวเลข CPI คืนนี้

              ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อตลาดทองคำคือดัชนีดอลลาร์ โดยเมื่อคืนนี้ดัชนีดอลลาร์ที่ปรับตัวลดลง -0.35 % สู่ระดับ 103.22 และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี  ปรับตัวลดลง -0.04% มาอยู่ที่ระดับ 3.703%

               ราคาทองคำปรับตัวลดลงจากแรงเทขายทำกำไรก่อนการประกาศตัวเลขดัชนี CPI ในคืนนี้ โดยเคลื่อนตัวอยู่ในกรอบ 1840 – 1865 ซึ่งนักวิเคราะห์คาดว่า ดัชนี CPI ทั่วไป ซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้น 6.2% ในเดือน ม.ค. เมื่อเทียบรายปี แต่ชะลอตัวลงจากระดับ 6.5% ในเดือน ธ.ค.

               ซึ่งหากตัวเลข CPI ออกมาต่ำกว่าคาด อาจจะทำให้เฟดชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหนุนให้ราคาทองคำปรับตัวเพิ่มขึ้นแตะระดับที่ 2,000 ดอลลาร์ แต่นักลงทุนต้องติดตามปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วยเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่เฟดหลายคนได้ให้การสนับสนุนปรับอัตราดอกเบี้ย

               ทั้งนี้ นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค ในวันคืนนี้เวลา  20.30 น. เพื่อทิศทางการปรับนโยบายทางการเงินของเฟด

มุมมองนักวิเคราะห์

✎นักวิเคราะห์การตลาดของ IG ระบุว่า ค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯที่ปรับเพิ่มขึ้นกำลังสร้างความกดดดันต่อราคาทองคำ ท่ามกลางความคาดหวังว่าเงินเฟ้อจะปรับตัวลดลงยังคงเป็นเรื่องท้าทาย

ราคาทองคำวันนี้

ราคาทองคำตลาดโลก  
ปรับตัวลดลง -12.8 เหรียญ หรือ -0.69% อยู่ที่ระดับ 1,852.6 ดอลลาร์

สัญญาทองคำตลาด COMEX  
ส่งมอบเดือนเม.ย. ลดลง 11 เหรียญ หรือ 0.59% ปิดที่ 1,863.5 ดอลลาร์/ออนซ์

กองทุนทองคำ SPDR  
วันก่อนหน้าไม่มีเปลี่ยนแปลง ปัจจุบันถือครองที่ 920.79 ตัน

ปัจจัยที่ทำให้ราคาทองคำปรับตัวลดลง

-ความกังวลเจ้าหน้าที่เฟดหลายคนสนับสนุนปรับอัตราดอกเบี้ย

-แรงเทขายทำกำไร

หมายเหตุ : ข้อมูลข้างต้นอาจมีความคลาดเคลื่อน เนื่องจากสินทรัพย์ดิจิทัลมีการซื้อขายตลอด 24 ชม. ไม่ควรใช้เพื่อการตัดสินใจลงทุนหรือซื้อขาย ข้อมูลดังกล่าวไม่มีเจตนาชี้นำการลงทุน ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลให้รอบคอบ

Facebook
Twitter
Email

ข่าวสารเพิ่มเติม

ราคาทองคำปรับตัวลดลง หลังเปิดเผยดัชนี PMI ออกมาดีกว่านักวิเคราะห์คาดไว้

นักลงทุนจับตาการส่งสัญญาณทิศทางการปรับอัตราดอกเบี้ยของเฟด และดัชนี PCE ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อของผู้บริโภคโดยครอบคลุมทั้งสินค้าและบริการมากกว่า CPI

อ่านเพิ่มเติม