Table of Contents
Toggleข่าวเกี่ยวกับค่าเงิน และธนาคารกลาง
- ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยรายงานการประชุมนโยบายการเงินประจำวันที่ 19-20 มี.ค. โดยระบุว่า กรรมการเฟดมีความกังวลว่า เงินเฟ้ออาจจะไม่ชะลอตัวลงสู่เป้าหมายของเฟดที่ระดับ 2% ในระยะเวลาอันใกล้ และแสดงความเห็นว่า เฟดอาจจำเป็นต้องตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงเป็นเวลานานกว่าที่คาดการณ์ไว้
- ยูบีเอส โกลบอล เวลธ์ แมเนจเมนต์คาดว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเริ่มลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนก.ย. เทียบกับที่คาดไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะลดดอกเบี้ยในเดือนมิ.ย. หลังจากที่อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นมากเกินคาดในเดือนมี.ค. และเฟดจะลดดอกเบี้ย 2 ครั้งในปีนี้ โดยจะปรับลดครั้งละ 25%
- ดัชนีดอลลาร์ ปรับตัวขึ้น 09 จุด หรือ 0.09% มาอยู่ที่ระดับ 105.27 จุด
- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ปรับตัวขึ้น 05 % มาอยู่ที่ระดับ 4.593% ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปี ปรับตัวลดลง -0.01 % มาอยู่ที่ระดับ 4.967% โดยที่ส่วนต่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ 10 ปี น้อยกว่า 2 ปี เท่ากับ-0.37% อยู่ในภาวะ inverted yield curve
- นางคริสตาลินา กอร์เกียวา กรรมการจัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) กล่าวว่า อัตราดอกเบี้ยสหรัฐที่สูงขึ้นไม่ใช่ข่าวดีสำหรับประเทศอื่น ๆ ของโลก และอาจกลายเป็นความวิตก หากอัตราดอกเบี้ยยังคงอยู่ที่ระดับสูงต่อไปเป็นเวลานาน แต่เธอคิดว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะดำเนินการได้อย่างรอบคอบ ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นยังส่งผลให้เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นด้วย และทำให้สกุลเงินของประเทศอื่น ๆ อ่อนค่าลง “หากภาวะดังกล่าวยังคงดำเนินต่อไปในระยะยาว ก็อาจจะกลายเป็นความวิตกในแง่ของเสถียรภาพทางการเงิน”
ข่าวเศรษฐกิจสำคัญ
- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเล็กน้อยในวันพฤหัสบดี ขณะที่ดัชนีS&P500 และ Nasdaq ปรับตัวขึ้น เนื่องจากหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีปรับตัวขึ้นนำตลาด และการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจตอกย้ำความหวังว่าเงินเฟ้อของสหรัฐยังคงมีแนวโน้มชะลอตัว
- นักวิเคราะห์รอยเตอร์คาดการณ์ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของจีนอาจจะขยายตัว6% ในไตรมาส1/2567 เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งเป็นการขยายตัวช้าที่สุดในรอบ 1 ปี และต่ำกว่าเป้าหมายที่รัฐบาลจีนกำหนดไว้ที่ประมาณ 5.0% โดยข้อมูลดังกล่าวอาจเป็นแรงผลักดันให้ทางการจีนเร่งใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม
- สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) รายงานว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค เพิ่มขึ้นเพียง1% ในเดือนมี.ค. เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ว่าอาจเพิ่มขึ้น0.4% หลังจากที่ปรับตัวขึ้น 0.7% ในเดือนก.พ.
- ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) เปิดเผยรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจล่าสุด โดยระบุว่า จีนจะยังคงเป็นปัจจัยขับเคลื่อนการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกที่สำคัญที่สุด แม้ว่าเศรษฐกิจจีนจะชะลอตัวลงก็ตาม
- ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกยังคงแข็งแกร่ง โดยคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียจะขยายตัว9% ทั้งในปี2567 และ 2568
- WTO คาดการณ์ว่า ปริมาณการค้าโลกจะขยายตัว6% ในปี2567 และเพิ่มขึ้นอีก 3.3% ในปี 2568 หลังจากลดลงมากกว่าคาด 1.2% ในปี 2566 เนื่องจากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นส่งผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศ
ข่าวเกี่ยวกับทองคำ
- ราคาทองคำโลก แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ใหม่ที่ประมาณ2,389 เหรียญ เพิ่มขึ้น70%
- สัญญาทองคำตลาดCOMEX ส่งมอบเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้น 24 เหรียญ หรือ03% ปิดที่ 2,372 เหรียญ
- กองทุนทองคำSPDR วันก่อนหน้าซื้อเข้า3 ตัน ปัจจุบันถือครองที่ 830.75 ตันภาพรวมเดือนเมษายน ซื้อสุทธิ 0.6 ตัน ขณะที่ปีนี้ ตั้งแต่ 1 ม.ค. – ปัจจุบัน ขายสุทธิ 48.36 ตัน
- ราคาทองคำที่พุ่งสูงขึ้น เกิดขึ้นหลังจากที่สำนักงานสถิติแรงงานของสหรัฐฯ รายงานว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เพิ่มขึ้น2% ในเดือนมีนาคม แม้ว่าตัวเลขจะต่ำกว่าเดือนก่อน ๆ แต่ข้อมูลนี้ชี้ให้เห็นว่า แรงกดดันเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง
ข่าวน้ำมัน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันพฤหัสบดี เนื่องจากนักลงทุนกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มอุปสงค์น้ำมัน หลังเงินเฟ้อที่ระดับสูงของสหรัฐทำลายความหวังเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในระยะใกล้นี้ แต่ความวิตกที่ว่าอิหร่านอาจโจมตีผลประโยชน์ต่าง ๆ ของอิสราเอลนั้นยังคงช่วยพยุงราคาน้ำมันดิบไว้ใกล้ระดับสูงสุดในรอบ6 เดือน
- สัญญาน้ำมันดิบWTI ส่งมอบเดือนพ.ค. ลดลง19 ดอลลาร์ หรือ 1.38% ปิดที่ 85.02 ดอลลาร์/บาร์เรล และสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนมิ.ย. ลดลง 74 เซนต์ หรือ 0.82% ปิดที่ 89.74 ดอลลาร์/บาร์เรล
- นักวิเคราะห์ด้านพลังงานจากแมคควารีเปิดเผยว่า เป็นการยากที่สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์จะปรับตัวขึ้นเหนือระดับ90 ดอลลาร์/บาร์เรลในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ หากไม่มีภาวะชะงักงันด้านอุปทานเกิดขึ้นจริงจากสถานการณ์ด้านภูมิรัฐศาสตร์
หมายเหตุ : ข้อมูลข้างต้นอาจมีความคลาดเคลื่อน เนื่องจากสินทรัพย์ดิจิทัลมีการซื้อขายตลอด 24 ชม. ไม่ควรใช้เพื่อการตัดสินใจลงทุนหรือซื้อขาย ข้อมูลดังกล่าวไม่มีเจตนาชี้นำการลงทุน ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลให้รอบคอบ