รัสเซียถือเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 12 ของโลก คิดเป็นสัดส่วนราว 1.75% ของเศรษฐกิจโลก สินค้าส่งออกสำคัญของรัสเซียได้แก่
- ส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ที่สำคัญ เช่น ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ มันสำปะหลัง ข้าวโพด และยางแผ่นดิบ
- ส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติรายใหญ่ของโลก
- ส่งออกไททาเนียมซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเครื่องบินมากเป็นอันดับ 2 ของโลก
- ส่งออกนิกเกิลซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าราว 7% ของอุปทานโลก
- ส่งออกพัลลาเดียมซึ่งเป็นส่วนประกอบในการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ราว 25-30% ของอุปทานโลก
- ผู้ส่งออกทองแดง อลูมิเนียม
- ส่งออกผลิตภัณฑ์ไม้รายใหญ่ของโลก
และด้วยเหตุนี้จึงไม่น่าแปลกใจหากสงครามที่เกิดขึ้นระหว่างรัสเซีย ยูเครน จะมีผลกระทบเป็นวงกว้างหลายด้าน เรามาดูกันว่าสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนส่งผลกระทบต่ออะไรบ้าง
- เศรษฐกิจทั่วโลกหดตัวลงโดยเฉพาะเศรษฐกิจยูเครนและรัสเซีย โดยเศรษฐกิจรัสเซียและยูเครนอาจหดตัวถึง 35% – 40% และแม้สงครามจะจบลง ความเสียหายทั้งทางด้านชีวิต ด้านพลังงาน และด้านทรัพย์สินส่งผลต่อเศรษฐกิจอาจจะต้องใช้เวลาหลายปีในการฟื้นกลับมา ปัจจุบันรัสเซียถูกคว่ำบาตรจากนานาประเทศและสูญเสียการเข้าถึงระบบ Swift ถูกระงับทรัพย์สินของธนาคารกลาง รวมถึงการระงับการซื้อขายน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติของรัสเซียในบางประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจรัสเซียอย่างรุนแรงและยังส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันแพงขึ้น นอกจากนั้น การถอนตัวของบริษัทต่างชาติขนาดใหญ่ส่งผลต่อหลายอุตสาหกรรม เช่น การบิน การเงิน ซอฟต์แวร์ เป็นต้น ทำให้มีการประเมินว่า เศรษฐกิจรัสเซียจะหดตัวแรงในปี 2022 ที่ 8.5% และหดตัวต่อเนื่องในปี 2023 ที่ 2.3%
- การส่งออกชะลอตัวลงตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง โดยเศรษฐกิจยุโรปจะรับผลกระทบหนักกว่าภูมิภาคอื่น เนื่องจากมีความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจรัสเซียมา
- ราคาทองคำมีการปรับตัวขึ้นเนื่องจากทองคำถือว่าเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยป้องกันความเสี่ยงจากภาวะสงครามและความผันผวนของตลาดที่ไม่แน่นอน ซึ่งในปัจจุปันสงครามค่อนข้างรุนแรงและไม่มีท่าทีจะเบาลง
- อัตราเงินเฟ้อทั่วโลกที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น และอยู่ในระดับสูงนานกว่าที่คาดไว้เนื่องจากสงครามทำให้ราคาน้ำมันแพงขึ้นมากในปี 2022 และราคาอาหารจะเพิ่มขึ้นตามมาในปี 2023
- น้ำมันแพงขึ้น เนื่องจากการยกระดับมาตรการคว่ำบาตรตอบโต้การกระทำของรัสเซีย ส่งผลให้ราคาพลังงาน สินค้า โภคภัณฑ์ และสินค้าเกษตรมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นมากและมาตรการที่เกี่ยวข้องกับพลังงานยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อราคาน้ำมัน
รู้หรือไม่ การลงทุนในช่วงที่สงครามกำลังเริ่มต้น และถือต่อไปอีก 10 ปีหลังสงครามจบ จะสร้างผลตอบแทนเฉลี่ยได้สูง นั่นเป็นเพราะว่าต้นทุนการลงทุน ในช่วงเริ่มต้นสงครามยังไม่สูงมาก เมื่อเทียบกับต้นทุนในช่วงสงครามสิ้นสุด จึงทำผลตอบแทนเฉลี่ยได้สูงกว่านั่นเอง