logo

เติมน้ำมัน 1 ลิตร เราจ่ายอะไรไปบ้าง?

หลายคนตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับโครงสร้างราคาน้ำมันในประเทศไทยว่า “ทำไมราคาน้ำมันสำเร็จรูปถึงแตกต่างจากประเทศเพื่อนบ้าน” ทั้งที่ประเทศเพื่อนบ้านของเราส่วนใหญ่ เช่น พม่า ลาว กัมพูชา และมาเลเซีย เป็นต้น ล้วนน่าจะมีต้นทุนที่ใกล้เคียงกันและใช้ราคากลางของประเทศสิงคโปร์เหมือน ๆ กัน

ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าโครงสร้างราคาน้ำมันในแต่ละประเทศนั้นมีความแตกต่างกัน ราคาที่เราจ่ายเพื่อเติมน้ำมันสำเร็จรูปไม่ว่าจะเป็น เบนซิน ดีเซล หรือแก๊สโซฮอล์ ไม่ได้คิดมาจาก “เนื้อน้ำมัน” เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ยังมีภาษีอีกหลายตัว รวมถึงเงินที่เก็บเข้ากองทุนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอยู่ด้วย รวมถึงนโยบายการสนับสนุนเชื้อเพลิงแต่ละประเภทของแต่ละประเภทก็มีความแตกต่างกัน

ตัวอย่างต่อไปนี้จะยกตัวอย่างให้เห็นภาพว่าโครงสร้างน้ำมันของไทยเรามีอะไรบ้าง

ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95ที่ขายปลีกหน้าปั้มอยู่ที่ราคา 30.25 บาท/ลิตร

-คิดเป็นต้นทุน “เนื้อน้ำมัน” อ้างอิงมาจากราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่ตลาดสิงคโปร์อยู่ที่ 19.48 บาท/ลิตร

-คิดเป็น “ภาษีสรรพสามิตร” ซึ่งเป็นภาษีที่แพงที่สุด 5.85 บาท/ลิตร (ประมาณ 20% เนื่องจากประเทศเราจัดว่าน้ำมันสำเร็จรูปเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย)

ภาษีท้องถิ่น 0.58 บาท/ลิตร.

ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่เก็บจากราคาขายส่ง 1.84 บาท

และ ภาษีมูลค่าเพิ่มที่เก็บจากค่าการตลาด อีก 0.13 บาท รวมเป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม = 1.84 + 0.13 = 1.97 บาท/ลิตร

เงินเก็บเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง 0.35 บาท/ลิตร (ปรับตามสถานการณ์ราคาน้ำมัน) เงินเก็บเข้ากองทุนเพื่อส่งเสริมอนุรักษ์พลังงาน 0.1 บาท/ลิตร

ค่าการตลาด อยู่ที่ 1.9 บาท/ลิตร

เมื่อรวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดเข้าด้วยกันจะทำให้ได้ราคาขายปลีกที่ 30.25 บาท/ลิตร ซึ่งเป็นราคาที่ผู้บริโภคอย่างเราจะต้องจ่าย เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงของเรา พบว่า ประเทศมาเลเซียมีราคาขายปลีกน้ำมันต่ำกว่าประเทศไทยประมาณ 30% เพราะเนื่องจากภาครัฐของประเทศมาเลเซียมีนโยบายอุดหนุนราคาน้ำมัน ประชาชนจึงไม่ต้องถูกจัดเก็บภาษีน้ำมันในอัตราที่สูงและไม่ต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนต่าง ๆ


ข้อมูลบทความ

18K+ like โพสวันที่ 17 พฤษจิกายน 2563 ใน facebook

เข้าไปอ่านบทความในเพจได้ที่ เติมน้ำมัน 1 ลิตร เราจ่ายอะไรไปบ้าง

น้ำมัน บทความยอดนิยม ประวัติเทรดเดอร์ พื้นฐาน technical analysis เทรดเดอร์มือใหม่ ์Indicator

*บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกตีความว่า มีการให้คำปรึกษาด้านการลงทุน ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการลงทุน หรือคำเสนอสำหรับการทำธุรกรรมใดๆ ในเครื่องมือทางการเงินต่างๆ โปรดทราบว่าการวิเคราะห์การซื้อขายดังกล่าวไม่ได้เป็นตัวบ่งชี้ที่เชื่อถือได้สำหรับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในปัจจุบันหรืออนาคต เนื่องจากสภาวการณ์อาจมีเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนตัดสินใจลงทุน

Facebook
Twitter
Email

ข่าวสารเพิ่มเติม

วิเคราะห์ทองคำประจำวันที่ 04/09/2023

FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 93.0% ที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 5.25-5.50% ในการประชุมวันที่ 19-20 ก.ย. และให้น้ำหนักเพียง 7.0% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 5.50-5.75%

อ่านเพิ่มเติม