logo

Indicator Bollinger Band

Bollinger Band คือ หนึ่งในเครื่องมือ Techinical Analysis ที่โด่งดัง ถูกคิดค้นโดยนาย John Bollinger ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้วัดความผันผวนของราคา ซึ่งหลักการของมันคือ การวัดความผันผวนของกราฟ โดยใช้ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (หรือเส้น Moving Average) หมายความว่า ช่วงนี้ราคาเหวี่ยงออกจากเส้น Moving Average เท่าไหร่

วัตถุประสงค์เริ่มแรกของ Bollinger Bands คือ นิยามความสัมพันธ์ระหว่าง จุดสูงสุดและจุดต่ำสุดของราคา ของเส้น Band บนและ Band ล่าง ซึ่งทำให้เกิดรูปร่างของราคา ทำให้ใช้ในการวิเคราะห์รูปแบบของราคาได้ดียิ่งขึ้น

ส่วนประกอบของ Bollinger Band

  1. เส้นค่าเฉลี่ย(SMA) 20 วัน    –  Middle Band
  2. SMA 20 วัน + 2 S.D.           –  Upper Band
  3. SMA 20 วัน – 2 S.D.           –  Lower Band

การใช้ลักษณะของ BB เพื่อบอกแนวโน้ม

แนวคิดการนำไปใช้งาน 2 วิธี

  1. นำ Bollinger Band 2เส้น ที่มี Period ต่างกันมา Plot ลงกราฟเดียวกัน เมื่อไรก็ตามที่เส้นแตะ Band แนวบนพร้อมกัน จะเป็นจุดที่ราคามีโอกาสกลับตัวค่อนข้างสูงสามารถทำการขายในจุดนี้ได้ เช่นเดียวกันถ้าเส้นแตะด้านล่างพร้อมกันจะเป็นจุดที่เราสามารถทำการเทรดฝั่งซื้อได้
  2. ใช้งาน Period เดียวกัน แต่ต่าง Timeframe

การใช้งาน Bollinger Band

การใช้งาน Bollinger Band นั้นอย่างที่กล่าวกันไปเบื้องต้นว่า Bollinger Band นั้นออกแบบมาเพื่อวัดความผันผวน ฉะนั้น ความผันผวนหรือช่วงที่ผันผวนก็คือ ช่วงที่กรอบของ Bollinger Band นั้นขยายกว้างขึ้น และถ้าหากราคาลง ก็คือให้ส่งสัญญาณ Sell ในทางตรงกันข้าม สำหรับสัญญาณ Buy ก็คือ ราคาขึ้นและ Bollinger Band ต้องขยายออกด้วย

นอกจากวิธีนี้แล้ว ยังมีการใช้ Bollinger Band เป็นสัญญาณ Overbought Oversold โดยถ้าแตะหรือต่ำกว่าขอบด้านล่าง (Lower Band ) นั่นคือสัญญาณ Oversold ให้ส่งคำสั่ง buy ขณะที่ฝั่งตรงข้าม คือ Overbought เมื่ออยู่สูงกว่า Upper Band นั่นเอง

อย่างไรก็ตาม Indicator นี้ก็จะมีข้อจำกัดเช่นเดียวกับ Indicator ทั่วไป เพราะว่า เราไม่สามารถแยกออกได้ว่าช่วงไหนจะเป็นช่วงเทรนด์ หรือช่วง Sideway นอกจากเสียว่ากราฟมันจะเกิดขึ้นไปแล้ว ฉะนั้นการใช้ที่เหมาะสมคือเพียงแค่การบอกความผันผวนของกราฟเท่านั้น

ประโยชน์และการใช้งาน Bollinger bands

1.)ใช้วัดความผันผวนของตลาด  

Bollinger Bands สามารถบอกเราให้ทราบว่า สถานะของตลาดเป็นยังไง กำลังคึกคัก หรืออยู่ในช่วงเงียบซบเซา โดยให้ดูจากเส้น คือถ้าเส้นมีลักษณะ บีบ ชิดเข้าหากัน แบบแคบๆ  นั้นหมายถึงตลาดกำลังเงียบเชียบหรืออยู่ในช่วงซบเซาอยู่ แต่ถ้าเส้นแยกออกจากกัน แล้วอยู่ห่างๆ กันเมื่อไหร่ นั้นหมายถึง ตลาดมีความคึกคัก บ่งบอกว่ามีนักลงทุน กำลังมีการซื้อ-ขาย กันเป็นจำนวนมาก

2. ใช้เป็นแนวรับและแนวต้าน

Bollinger Bands ที่ประกอบกันด้วย 3 เส้นนั้น จะเคลื่อนที่ไปตามแนวโน้มของราคา โดยมีหน้าที่แตกต่างกันดังนี้ เส้นบน หรือ Upper Band = ทำหน้าที่เป็นแนวต้าน เส้นกลาง หรือ Middle Band = ทำหน้าที่เป็นทั้งแนวรับและแนวต้าน และเส้นล่าง หรือ Lower Band = ทำหน้าที่เป็นแนวรับ

3.ใช้หาแนวโน้มของราคา

เราสามารถนำ Bollinger Bands มาใช้เพื่อหาแนวโน้มของราคา ดังนี้ แนวโน้มขาขึ้น = ลักษณะของราคาจะอยู่บริเวณเส้นขอบบน และไม่ค่อยจะทะลุเส้นขอบกลางลงไปได้  แนวโน้มขาลง = ลักษณะของราคาจะอยู่บริเวณเส้นขอบล่าง และไม่ค่อยจะทะลุเส้นขอบกลางขึ้นไป แนวโน้มของราคาที่อยู่ในรูปแบบ Sideway = เมื่อราคาเพิ่มขึ้นจนถึงเส้นขอบบน แล้วเกิดการกลับตัวเปลี่ยนจากขึ้นเป็นลง นั้นหมายถึงแนวโน้มราคากำลังจะลง (เป็นสัญญาณขาย) ในทางกลับกัน ราคาที่ลดลงจนชนเส้นกรอบด้านล่าง จากนั้นเกิดการกลับตัว เปลี่ยนจากลงเป็นขึ้น นั้นหมายถึง แนวโน้มราคากำลังจะขึ้น (เป็นสัญญาณซื้อ)

4.ใช้ดู Overbought, Oversold (ซื้อหรือขายมากเกินไป)

กรณีใช้ดูการซื้อหรือขายที่มากเกินไปนั้น ก็ไม่มีอะไรยุ่งยาก   เพียงแค่ดูจากเส้น ก็เข้าใจได้โดยง่าย วิธีการดูหรือแปลความหมายคือ เส้นขอบบน (Upper Band) หมายถึงการซื้อที่มากเกินไป เส้นขอบล่าง (Lower Band) หมายถึงการขายที่มากเกินไป ฉะนั้นเส้นขอบกลาง (Middle Band) ก็คือการซื้อหรืขายที่อยู่ในระดับปานกลางหรือเท่าเทียมกัน นั้นเอง

5.ใช้เทรดด้วยกลยุทธ์แบบ Breakouts

การเทรดด้วยกลยุทธ์แบบ Breakouts คือการเข้าเทรดทันที เมื่อราคาเกิดการทะลุแนวต้าน หรือแนวรับ โดย Bollinger bands สามารถนำมาใช้ได้ในทุกสภาวะของตลาด ไม่ว่าจะช่วง ขาขึ้น ขาลง หรือ ไซต์เวย์ แต่การนำไปใช้ในตลาดที่แตกต่างกัน ก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนบางกลยุทธ์หรือเทคนิค เพื่อให้เข้ากับสถานะการณ์ของตลาดในปัจจุบัน การใช้งานนั้นก็ไม่มีอะไรยุ่งยาก เพียงแค่ดูราคาที่มันทะลุ แล้วก็เข้าเทรดตาม แนวโน้ม หรือภาวะของตลาดที่กำลังเป็นอยู่

สรุป

Bollinger band ถือเป็นหนึ่งในเครื่องมือ Technical Analysis ที่ทรงประสิทธิภาพ มีความหลากหลายในการใช้งาน สามารถสร้างกลยุทธ์ได้หลากหลาย เทรดเดอร์ที่สนใจใช้เครื่องมือนี้ ให้ศึกษามันอย่างเข้มข้น รับรองว่าไม่ผิดหวังแน่นอนครับ  

Facebook
Twitter
Email

ข่าวสารเพิ่มเติม

วิเคราะห์ทองคำประจำวันที่ 16/05/2023

มิเชลล์ โบว์แมน หนึ่งในผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวในวันศุกร์ว่า เฟดอาจจะมีความจำเป็นต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป ถ้าหากอัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูง

อ่านเพิ่มเติม

วิเคราะห์ทองคำประจำวันที่ 30/01/2024

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันจันทร์ เนื่องจากสถานการณ์ตึงเครียดในตะวันออกกลางเป็นปัจจัยหนุนแรงซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย นอกจากนี้ ตลาดทองคำยังได้ปัจจัยบวกจากการร่วงลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ

อ่านเพิ่มเติม